SCGC – ซินโครตรอน เดินหน้าร่วมพัฒนาเคมีภัณฑ์ ลดคาร์บอน ลดพลาสติก

SCGC – ซินโครตรอน เดินหน้าร่วมพัฒนาเคมีภัณฑ์ ลดคาร์บอน ลดพลาสติก

เอสซีจีเคมิคอลส์ จับมือสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สานต่อความร่วมมือทางวิชาการ หลังประสบความสำเร็จในการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัทจากความร่วมมือตลอด 5 ปีที่ผ่านมา พร้อมทำสัญญาบริการวิจัยระหว่างสถาบันฯ และไทยโพลิเอททิลีน เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางด้านโพลิเมอร์และเคมีภัณฑ์ ที่ตอบโจทย์ด้านการลดการปลดปล่อยคาร์บอนและเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงการใช้งานในอุตสาหกรรมในอนาคต

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โดย รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และบริษัท เอสซีจีเคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) โดย ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรมและรองผู้จัดการใหญ่ New Business ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการ ในวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 พร้อมทั้งมีการลงนามสัญญาบริการวิจัยระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กับบริษัท ไทยโพลิเอททิลีน จำกัด

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรมและรองผู้จัดการใหญ่ New Business บริษัท เอสซีจีเคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “SCGC เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่ใหญ่และทันสมัยที่สุด ซึ่งสามารถวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุในระดับโมเลกุลและอะตอมได้ โดย SCGC ใช้แสงซินโครตรอนในการวิเคราะห์โครงสร้างผลึกของโพลิเมอร์ได้ในระดับนาโนเมตร ทำให้สามารถคิดค้นนวัตกรรมได้เร็วขึ้น อาทิ การพัฒนา SMX™ Technology ให้พลาสติกที่มีความแข็งแรงมากขึ้น หรือการคิดค้นท่อจากพลาสติก PE ช่วยยึดอายุการใช้งานได้นานขึ้น ทำให้ลดการใช้งานพลาสติกและลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ”

“ความร่วมมือระหว่าง SCGC และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา SCGC ได้รับสิทธิบัตรและตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติหลายฉบับ ในปีนี้ SCGC และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจทางวิชาการและสัญญาบริการ เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางด้านโพลิเมอร์และเคมีภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ด้าน decarbonization, circular economy และการใช้งานในอุตสาหกรรมในอนาคต ความร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของ SCGC ในการพัฒนานวัตกรรมให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลก และสร้างประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย”

รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ กล่าวว่า “สถาบันฯ มีพันธกิจในการวิจัย ให้บริการ ส่งเสริมและถ่ายทอดการเรียนรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและการใช้ประโยชน์ นำไปสู่การยกระดับงานวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้วยเหตุนี้ สถาบันฯ จึงให้ความสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือทางวิชาการมาโดยตลอด สำหรับการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างเอสซีจีเคมิคอลส์และสถาบันฯ ครั้งนี้ จะมีความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านกลุ่มผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์โดยใช้เทคโนโลยีซินโครตรอน และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจของทั้งสองหน่วยงาน”

“นอกจากนี้จะมีการสนับสนุนการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และทดสอบ การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ ตลอดจนปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดยใช้แสงชินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสนับสนุนด้านวิชาการ การฝึกอบรม และความร่วมมือทางด้านเทคนิคและวิศวกรรม ร่วมถึงดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นสมควร และอีกความร่วมมือคือ การลงนามสัญญาบริการวิจัยระหว่างไทยโพลิเอททีลีนกับสถาบันฯ สามารถสนับสนุนงานวิจัยโครงสร้างพอลิเมอร์ด้วยแสงซินโครตรอนให้มีความต่อเนื่อง สามารถต่อยอดนำไปใช้ประโยชน์และพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่อไป”

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า