NSM ชวนท่องโลกภาพยนตร์ สัมผัสศาสตร์และศิลป์ เนรมิตจินตนาการสู่อุตสาหกรรมบันเทิง ใน “นิทรรศการมายาประดิษฐ์” (Fascination of Film Making)

NSM ชวนท่องโลกภาพยนตร์ สัมผัสศาสตร์และศิลป์ เนรมิตจินตนาการสู่อุตสาหกรรมบันเทิง ใน “นิทรรศการมายาประดิษฐ์” (Fascination of Film Making)

คุณสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิด “นิทรรศการมายาประดิษฐ์” (Fascination of Film Making) ชวนทุกคนออกเดินทางท่องโลกการสร้างภาพยนตร์จากหนังสั้นเรื่องแรกสู่อุตสาหกรรมบันเทิงที่ทรงอิทธิพลระดับโลก มาสัมผัสประสบการณ์เรียนรู้ผ่านพัฒนาการของเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบของศาสตร์และศิลป์ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตภาพยนตร์ให้กับเยาวชน ได้เห็นโอกาสทางการเรียนและประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. คุณอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. ผศ.กิตติพร ชูเกียรติ ประธานหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคุณชญาณี ฉลาดธัญญกิจ อาจารย์ประจําคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (ตัวแทนจากเครือข่ายนิเทศศาสตร์) ร่วมพิธีเปิดฯ ดังกล่าว ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566

คุณสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กล่าวว่า “ปัจจุบันสื่อมัลติมีเดียออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเพื่อการศึกษาหาความรู้หรือ เพื่อความบันเทิง ซึ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โทรทัศน์ โฆษณา แอนิเมชัน เกม ดนตรี และดิจิทัลคอนเทนต์ฯ นับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย “ซอฟต์พาวเวอร์” (soft power) ของประเทศไทย เนื่องจากมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคผ่านการแทรกซึมคุณค่าทางวัฒนธรรมด้วยสื่อสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยที่เต็มไปด้วยบุคลากรที่มีศักยภาพเป็นจำนวนมาก ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการสร้างสรรค์และผลักดันผลงานภาพยนตร์ไทยให้เฉิดฉายในเวทีระดับโลกมากมาย

NSM จึงได้พัฒนา “นิทรรศการมายาประดิษฐ์” (Fascination of Film Making) ขึ้น เพื่อบอกเล่าเรื่องราวเบื้องหน้าและเบื้องหลังอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  ถือเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจทางการเรียนและประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ให้กับเยาวชน อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต”

คุณอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. กล่าวว่า“นิทรรศการชุดนี้เราได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรมากมาย ที่มาทำให้นิทรรศการมายาประดิษฐ์สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น อาทิ เครือข่ายนิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด และหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) โดยหวังว่าเยาวชนและประชาชนทั่วไปจะได้สนุกสนานไปกับการเรียนรู้เบื้องหลังการทำภาพยนตร์ และสามารถนำความรู้นำไปต่อยอดและปรับใช้ในชีวิตประจำวัน นำไปสู่ความเข้าใจและพัฒนาตนเองต่อไป”

โดยภายในนิทรรศการฯ จัดแสดงออกเป็นทั้งหมด 3 โซน ได้แก่

โซนแรก “Welcome to The World of Cinematography” พาทุกคนไปค้นพบประวัติศาสตร์และเทคโนโลยีเบื้องหลังที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์โลกและประเทศไทย

โซนที่ 2 “Behind the Scenes” (Production & Career) จำลองขั้นตอนในส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการสร้างสรรค์งานภาพยนตร์ ตั้งแต่ Pre-production Production และ Post-production ผ่านชิ้นงานจัดแสดง สื่อมัลติมีเดีย และการทดลองทำจากประสบการณ์จริง รวมถึงนำเสนออาชีพต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างภาพยนตร์ในแต่ละขั้นตอน

โซนที่ 3 “The Red Carpet” จำลองบรรยากาศงานพรมแดงในการมอบรางวัลทางด้านภาพยนตร์ โดยมีส่วนจัดแสดงให้ความรู้เรื่องรางวัลที่มอบให้กับผู้คนในวงการภาพยนตร์ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง

“นิทรรศการมายาประดิษฐ์” (Fascination of Film Making) จะจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2566 – 31 กรกฎาคม 2567 สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการฯ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เปิดให้บริการวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.30-15.00 น. และวันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00 น. (ปิดบริการทุกวันจันทร์) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2577 9999 ต่อ 2122-2123 หรือ Facebook : NSM Thailand

 

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า