GISTDA ดันผู้ประกอบการในไทย ร่วมผลิตดาวเทียมสำรวจโลกดวงใหม่ในประเทศ สู่มาตรฐานอุตสาหกรรมอวกาศสากล

GISTDA ดันผู้ประกอบการในไทย ร่วมผลิตดาวเทียมสำรวจโลกดวงใหม่ในประเทศ สู่มาตรฐานอุตสาหกรรมอวกาศสากล

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสร้างดาวเทียมในประเทศ” ระดมความคิดเห็นจากผู้ประกอบการในไทยกว่า 40 หน่วยงาน เพื่อเตรียมสร้างดาวเทียมดวงใหม่ภายในประเทศ ตอบโจทย์การใช้งานทุกภาคส่วน ภายในงานสัมมนานานาชาติ NEW SPACE ECONOMY THAILAND ณ โรงแรม เดอะสุโกศล กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566

คุณพีร์ ชูศรี รองผู้อำนวยการ ภารกิจด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของ GISTDA กล่าวว่า การสัมมนาในครั้งนี้เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการผลิตดาวเทียมดวงใหม่ในประเทศ ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก THEOS-2 ที่ประสบความสำเร็จในการสนับสนุนผู้ประกอบการในไทยในภาคอุตสาหกรรมกว่า 15 ราย ที่มีศักยภาพและผ่านการประเมินความพร้อมในการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียม THEOS-2A ที่ร่วมพัฒนากับบริษัท เซอเลย์ แซทเทลไลท์ ลิมิเต็ด (SSTL) จากประเทศอังกฤษและทีมวิศวกร GISTDA จนประสบความสำเร็จ และมีกำหนดการปล่อยขึ้นสู่วงโคจรในช่วงปลายปีนี้

เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการสนับสนุนระบบนิเวศเศรษฐกิจอวกาศไทย GISTDA ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาดาวเทียมสำรวจโลกดวงต่อไปโดยฝีมือคนไทยและสร้างสัดส่วนชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าดาวเทียม โดยตัวดาวเทียมจะถูกออกแบบและใช้ส่วนประกอบจากผู้ผลิต ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในไทยให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมอวกาศ เพื่อยกระดับและขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการในไทยเข้าสู่ Global Value Chains ด้าน Space Industry ต่อไป

คุณตติย มีเมศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เลนโซ่ แอโร่สเปซ จำกัด ตัวแทนผู้ประกอบการในไทยและเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการในไทย ในการผลิตดาวเทียมที่ได้ส่งมอบชิ้นส่วนดาวเทียมสำหรับติดตั้งในดาวเทียม THEOS-2A กล่าวว่า บริษัท มีความภูมิใจอย่างยิ่งที่จะได้เห็นชิ้นส่วนที่ผลิตโดยบริษัทตน ถูกส่งขึ้นไปในอวกาศ ถือเป็นก้าวเล็ก ๆที่ยิ่งใหญ่ของบริษัทไทยและวงการอุตสาหกรรมการบินอวกาศ โดยในปัจจุบันทางบริษัท ยังมีการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมให้แก่ GISTDA และผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมอวกาศอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เรามีแผนงานที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตชิ้นส่วนอวกาศยาน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

 

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า