GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS)
ไทยพบจุดความร้อนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2566 จำนวน 771 จุด ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างราชอาณาจักรกัมพูชา จุดความร้อนยังคงสูงถึง 1,996 จุด, สปป.ลาว 683 จุด, สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 647 จุด, เวียดนาม 384 จุด และมาเลเชีย 1 จุด
สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 219 จุด พื้นที่เกษตร 190 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 160 จุด พื้นที่เขต สปก. 112 จุด พื้นที่ชุมชนและอื่น ๆ 84 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 6 จุด
สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดน เนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่าง ๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้
ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THEOS-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น