งานสัมมนาวิชาการ เคลื่อนภูมิภาคไทยด้วย ววน. ครั้งที่ 2 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ตาน้ำของศิลปวิทยาการ เชื่อมคน เชื่อมโลก

งานสัมมนาวิชาการ เคลื่อนภูมิภาคไทยด้วย ววน. ครั้งที่ 2 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ตาน้ำของศิลปวิทยาการ เชื่อมคน เชื่อมโลก

เมื่อวันที่ 11 พฤจิกายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดงานสัมมนาวิชาการ เคลื่อนภูมิภาคไทยด้วย ววน. ครั้งที่ 2 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ตาน้ำของศิลปวิทยาการ เชื่อมคน เชื่อมโลก เพื่อเติมเต็มความรู้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของประเทศไทยที่เชื่อมโยงระดับภูมิภาค และทำความเข้าใจในแนวคิดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและธัชภูมิ และสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวในการทำงานที่สอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานในการพัฒนาพื้นที่และประเทศ รวมถึงการนำเสนอแนวทางการดำเนินงานของโครงการปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของพื้นที่ ภายใต้แผนงานธัชภูมิ

โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ธัชภูมิ : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของพื้นที่” ว่า ประเทศไทยมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน เห็นได้จากหลักฐานเชิงประจักษ์ จากการจัดอันดับประเทศที่มีการรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ให้ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 7 เช่นเดียวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF จัดอันดับให้ประเทศไทยเรามีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นอันดับที่ 24 ของโลก ในปี 2019 ถือว่าเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หากนับรวมจำนวนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับการจัดอันดับดังกล่าว อาจทำให้รู้สึกแปลกใจ เพราะคนส่วนใหญ่มองว่า ประเทศไทยของเรานั้นจน ตรงกันข้ามกับต่างประเทศที่มองประเทศไทยว่า เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะมิติของการท่องเที่ยว ที่ชาวต่างชาติมองประเทศไทยเป็นมหาอำนาจทางท่องเที่ยว

ทั้งนี้หากศักยภาพของประเทศไทยเป็นไปตามที่ต่างประเทศมอง ก็เชื่อว่า เป้าหมายในการยกระดับประเทศไทยจากประเทศรายได้ปานกลาง เป็นประเทศรายได้สูง ในปี 2580 นั้น จะเป็นไปตามเป้าหมาย โดยเปลี่ยนวิธีการคิด วิธีการมอง ที่สร้างความภาคภูมิใจและคุณค่าของผู้คนในแต่ละพื้นที่แล้ว ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นยังเป็น “ตาน้ำ” ที่สำคัญของประเทศอีกด้วย

เพราะเป็นบ่อเกิดของศิลปวิทยาการทั้งหลาย สร้างเรื่องราว ปราชญ์ชาวบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย ที่สามารถนำมาต่อยอดและพัฒนาให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำมาสู่การสร้างมูลค่าและสร้างรายได้แก่ชุมชนท้องถิ่น ผ่านการเชื่อมโยงกับการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือเชิงอนุรักษ์ โดยระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อววน. ของประเทศไทยในปัจจุบัน เรามีกลุ่มนักวิชาการที่สามารถปฏิบัติการวิจัประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และ Historical Based Foresight ที่จะช่วยฉายภาพอนาคตของประเทศบนฐานของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการใช้ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สกสว. เป็นหน่วยงานกลางของประเทศ ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศในทุกด้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน ภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพร้อมเป็นตัวกลางในการรวบรวมข้อมูลความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของนักวิชาการในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยในพื้นที่ และบุคลากรของหน่วยงานทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในกระทรวง อว. ที่จะต้องประสานการทำงานร่วมกัน ทั้งหน่วยบริหารและจัดการทุน และหน่วยรับงบประมาณต่าง ๆ

โดยเฉพาะ อว.ส่วนหน้า ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการหาจุดแข็งของพื้นที่ และนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไปพัฒนาประเทศ ร่วมกับหน่วยงานนอกกระทรวง อว. เช่น กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการทำงานด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมทั้งในระดับประเทศและพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาโมเดลการจัดทำภาพอนาคตของพื้นที่ด้วยฐานความรู้ประวัติศาสตร์ จึงจะนับว่าเป็นการเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตเข้าไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์

กระบวนการดังกล่าวข้างต้นถือเป็นการเริ่มต้นของการดำเนินงานที่เป็นฐานการขับเคลื่อนเรื่อง “ธัชภูมิ” การพัฒนาพื้นที่เพื่อไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนด้วยฐานทุนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ หากเราได้ริเริ่มทำเรื่อง “ธัชภูมิ” อันเป็นความรู้ที่หยั่งรากจากท้องถิ่น โดยที่ไม่ได้ตัดขาดจากศาสตร์และศิลป์ แต่สามารถนำ ‘ธัชวิทย์’ หรือองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ‘ธัชชา’ หรือองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ มาบูรณาการกับธัชภูมิ เพื่อเสริมกำลัง ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็น “ศูนย์กลาง” หรือผู้นำของภูมิภาคอาเซียน โดยเชื่อมต่อสายใย หยั่งรากฐานสำคัญของการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ด้วยสหวิทยาการ หรือ การใช้ความรู้จากองค์ความรู้หลายสาขาวิชา หลายศาสตร์ มาผสมผสานใช้ในการเรียนการสอน การวิเคราะห์ วิจัย และสังเคราะห์ขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่ และพัฒนาเป็นศาสตร์ใหม่ขึ้น

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า