63 ปี วช. ขนงานวิจัยและนวัตกรรม โชว์ศักยภาพนักวิจัยไทย ในเวที NRCT Talk

63 ปี วช. ขนงานวิจัยและนวัตกรรม โชว์ศักยภาพนักวิจัยไทย ในเวที NRCT Talk

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดเวทีเสวนา NRCT Talk เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา วช. ครบรอบ 63 ปี ภายใต้แนวคิด “63 ปี วช. มุ่งสู่สังคมอุดมปัญญา พัฒนาไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่โดดเด่นมาแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของฝีมือนักวิจัยไทย โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการเสวนา ณ ศูนย์จัดการความรู้การวิจัย ชั้น 1 อาคาร วช.1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565

มีผลงานที่ร่วมเสวนาบนเวที NRCT Talk จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ 1. อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิแบบพกพาด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์ โดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2. การผลิตแพะเนื้อ แพะนม และการสร้างผู้ประกอบการใหม่ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ และคณะ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ 3. เครื่องสกัดน้ำมันไข่แดงแบบเคลื่อนที่เพื่อแปรรูปไข่แดงเหลวเหลือทิ้งจากการแยกไข่ขาวของเกษตรกรรายย่อยให้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเวชสำอางมูลค่าสูงและเสริมอาหาร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาลักษณ์ ทิพยรัตน์ และคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผลงานชิ้นที่ 1 : อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิแบบพกพาด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์ โดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ สวทช. เป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจสอบคุณภาพทางกลิ่นในข้าวหอมมะลิโดยการตรวจสอบสาร 2-อะซิติล-1-ไพโรลีน บนพื้นฐานการตรวจวัดด้วยจมูกอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถตรวจวัดและแยกแยะกลิ่นจำเพาะได้อย่างแม่นยำ เครื่องมือดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นให้มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ใช้งานง่ายและรวดเร็วกว่าเครื่องมือวัดแบบอื่น ๆ ทำให้สามารถตรวจสอบความหอมข้าวได้ภายในเวลาน้อยกว่า 30 นาที

ผลงานชิ้นที่ 2 : การผลิตแพะเนื้อ แพะนม และการสร้างผู้ประกอบการใหม่ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ และคณะ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งการเลี้ยงแพะสามารถขับเคลื่อนและสร้างความมั่นคงเศรษฐกิจฐานรากได้ในระยะเวลารวดเร็ว ก็สามารถขายได้ทั้งในรูปแบบเนื้อชำแหละหรือขายทั้งตัว ทางคณะนักวิจัยได้เน้นการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยเพื่อยกระดับและมาตรฐานในการเลี้ยงแพะให้เป็นฟาร์มปลอดโรคที่ได้มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ การพัฒนาการผลิตพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่มีคุณภาพด้วยวิธีการผสมเทียม การจัดการดูแลแพะเพื่อเพิ่มอัตราการติดลูก การเพิ่มมูลค่าเนื้อแพะด้วยการแปรรูปและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

ผลงานชิ้นที่ 3 : เครื่องสกัดน้ำมันไข่แดงแบบเคลื่อนที่เพื่อแปรรูปไข่แดงเหลวเหลือทิ้งจากการแยกไข่ขาวของเกษตรกรรายย่อยให้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเวชสำอางมูลค่าสูงและเสริมอาหาร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาลักษณ์ ทิพยรัตน์ และคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสกัดด้วยตัวทำละลายควบแน่นภายใต้สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤตที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อแปรรูปไข่ไก่เป็นสารสกัดน้ำมันไข่แดงและหรือโปรตีนไข่แดงที่มีมูลค่าสูงขึ้นและแก้ปัญหาผลผลิตไข่ไก่หน้าฟาร์มที่มีปริมาณล้นตลาด ราคาขายต่ำกว่าทุนหรือผันผวนได้

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า