นิทรรศการ “พระครูวิษณุกรรมจิตรกรรมไทย สู่ประติมากรรมรูปเคารพ และผลงานอาจารย์สุดสาคร ชายเสม” ศิลปินชั้นครู ณ วิทยาลัยเพาะช่าง
เนื่องในโอกาสเพาะช่าง ครบรอบ 109 ปี และ 45 ปี สาขาวิชาจิตรกรรมไทย เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติครูผู้สืบสานศิลปกรรมไทยแบบประเพณี อาจารย์สุดสาคร ชายเสม ครูผู้สืบสานศิลปกรรมไทยแบบประเพณี อดีตอาจารย์ประจำแผนกจิตรกรรมไทย วิทยาเขตเพาะช่าง ผู้ออกแบบฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก การแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ทางสาขาวิชาจิตรกรรมไทย ภาควิชาศิลปะประจำชาติ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จึงได้ร่วมกันจัดนิทรรศการ “พระครูวิษณุกรรมจิตรกรรมไทย สู่ประติมากรรมรูปเคารพ” และผลงานอาจารย์สุดสาคร ชายเสม” ขึ้น โดยทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปแล้ว ในวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2565 ณ พิพิธภัณฑ์เพาะช่างเฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ช่วงบ่าย ได้จัดการสัมมนา 3 หัวข้อ ได้แก่ ฉากโขนและศิลปกรรมประกอบฉาก พระครูวิษณุกรรม ประติมากรรมช้าง : จากธรรมชาติสู่แนวคิดอุดมคติ โดยวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งหมด 3 ท่าน ได้แก่ อาจารย์สุดสาคร ชายเสม อดีตอาจารย์ประจำแผนกจิตรกรรมไทย วิทยาเขตเพาะช่าง ผู้ออกแบบฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก การแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ อาจารย์สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กลุ่มศิลปะประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม อาจารย์อวรัช ชลวาสินผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องดนตรีไทย ดำเนินรายการโดย อาจารย์วิชัย รักชาติ หัวหน้าสาขาวิชาจิตรกรรมไทย ภาควิชาศิลปะประจำชาติ วิทยาลัยเพาะช่าง ในส่วนพิธีเปิดนิทรรศการ “พระครูวิษณุกรรมจิตรกรรมไทย สู่ประติมากรรมรูปเคารพ และผลงานอาจารย์สุดสาคร ชายเสม” โดยได้รับเกียรติจาก คุณลลิสา จงบารมี คณะกรรมการมูลนิธิธารศิลป์รักษ์จิตรกร เป็นประธานในพิธี
นิทรรศการ “พระครูวิษณุกรรมจิตรกรรมไทย สู่ประติมากรรมรูปเคารพ และผลงานอาจารย์สุดสาคร ชายเสม” จัดแสดงและเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับชมได้ฟรีทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ในระหว่างเวลา 10.00-16.00 น. ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 ณ หอศิลป์เพาะช่าง อาคารพิพิธภัณฑ์เพาะช่างเฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยเพาะช่าง