กระทรวง อว. โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผนึก 3 หน่วยงาน วิจัยลดควันดำและ PM2.5 ได้กว่า 50% สร้างอากาศสะอาดเพื่อคนไทย

กระทรวง อว. โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผนึก 3 หน่วยงาน วิจัยลดควันดำและ PM2.5 ได้กว่า 50% สร้างอากาศสะอาดเพื่อคนไทย

คุณศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานและสักขีพยาน งานบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสร้างอากาศสะอาดเพื่อคนไทย ซึ่งลงนามโดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน , สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ห้องโถงชั้น 1 สวทช. ถนนโยธี  เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567

คุณศุภมาส กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำว่า รัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อการดำเนินการทุกด้าน เพื่อเร่งแก้ปัญหา PM2.5 ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการ PM2.5 แห่งชาติ และมอบหมายให้ทุกกระทรวงเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี กระทรวง อว. จึงมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา PM2.5 ที่กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยทั้งประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหากยังไม่ได้รับการแก้ไข กระทรวง อว. จึงเน้นย้ำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเน้นการทำงานเชิงรุก ใช้กลไกและกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ทุกหน่วยงานนำไปปรับใช้ เพื่อกำหนดมาตรการให้มีความเข้มข้นและเป็นรูปธรรม

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ปัญหา PM2.5 จากภาคจราจรมีสาเหตุหลักเกิดจากไอเสียรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลเก่า ที่ยังไม่ได้มาตรฐานไอเสียยูโร 5 ทางภาคีเครือข่ายงานวิจัย จึงได้ร่วมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยใช้สารเติมแต่งเชื้อเพลิงที่มีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมื่อเติมลงในน้ำมันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ และลดฝุ่น PM2.5 ได้ โดยสารเติมแต่งนี้สามารถผลิตได้จากสารตั้งต้นที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต ซึ่งเตรียมได้จากปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง หรืออ้อย ดังนั้นงานวิจัยนี้นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยจากการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กล่าวถึง วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม ได้ให้การสนับสนุนโครงการวิจัยนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการลดการปล่อยฝุ่น PM2.5 จากเครื่องยนต์ดีเซล การร่วมมือกันในครั้งนี้ ถือเป็นการบูรณาการความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง และนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ตอบโจทย์ความต้องการในการแก้ไขปัญหาสภาวะสิ่งแวดล้อมของประเทศ และช่วยลดผลกระทบจากปัญหาฝุ่น PM2.5 ได้อย่างเป็นรูปธรรม

การลงนามครั้งนี้ฯ ถือเป็นการเดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรมที่จะร่วมกันสนับสนุนการวิจัยพัฒนานวัตกรรมการลดควันดำและฝุ่น PM2.5 ของเครื่องยนต์ดีเซล ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อยอดและหาแนวทางการดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และสาธารณประโยชน์ต่อไป เพื่อเดินหน้าคืนอากาศสะอาดให้กับประชาชนในทุกมิติ

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า