เลขานุการ รมว.กระทรวง อว. เปิดงาน “2 ท่า 2 วัง : เฉลิมฉลองครบรอบสถาปนา 80 ปี ม.ศิลปากร และ 90 ปี ม.ธรรมศาสตร์” ร่วมขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ด้านวัฒนธรรมการแต่งกายและเครื่องนุ่งห่มสู่สาธารณะ
คุณสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับมอบหมายจาก คุณศุภมาส อิศรภักดี รมว.กระทรวง อว. ให้เป็นประธานเปิดกิจกรรม 2 ท่า 2 วัง : เฉลิมฉลองครบรอบสถาปนา 80 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ 90 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Human, Culture, and Arts for All โดยมี รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศ.ดร.ภก.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร รศ.ดร.สุรัตน์ ทีรฆาภิบาล รองอธิการบดี ฝ่ายบริหารท่าพระจันทร์และวิเทศสัมพันธม์หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566
คุณสุชาดา กล่าวว่า กิจกรรม แฟชั่นรอทีท่า บูรณาการ (ธรรม-) ศาสตร์ผสานศิล (-ปากร) : Zero waste Adornment and Diversity of Mind ซึ่งกิจกรรมของงาน 2 ท่า 2 วัง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบสถาปนา 80 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ 90 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัย แต่ยังสามารถพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ด้านวัฒนธรรมการแต่งกาย และเครื่องนุ่งห่มสู่สาธารณะได้ในเชิงประจักษ์ ในรูปแบบการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม อันจะนําไปสู่การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทรัพยากร และการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่าง สถาบันการศึกษากับภาคประชาสังคม
เลขานุการ รมว.กระทรวง อว. กล่าวต่อว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นยังสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของสถาบัน ที่ต่างมีการดําเนินงานตามแนวทางการสร้างสรรค์มรดกทางวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม 5F อันได้แก่ Food (อาหาร) Fashion (แฟชั่น) Festival (เทศกาล) Film (ภาพยนตร์) Fight ing (ศิลปะการป้องกันตัว) อันเป็นแนวคิดตามหลักการซอฟต์พาวเวอร์ (Soft power) อันเป็นพลังที่มีอิทธิพลทางความคิด และพฤติกรรมของคน ชุมชน และสังคม ซึ่งก็มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่พยายามผลักดันและสนับสนุนให้ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ สร้างการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรม
“ในนามของกระทรวง อว. ดิฉันขอขอบคุณมหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถขับเคลื่อนประเทศในมิติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามบริบทและความเชี่ยวชาญ สะท้อนให้เห็นว่า กระบวนการจัดการศึกษาในปัจจุบัน มิใช่การแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัย แต่เป็นการผสมผสานองค์ความรู้และการสร้างความร่วมมือระหว่างกันโดยมีนักศึกษาและประชาชนเป็นศูนย์กลาง ที่จะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดจากการดําเนินงานของมหาวิทยาลัย”