เลขานุการ รมว.กระทรวง อว. เปิดงานแถลงข่าวเปิดตัวแอป “ZERO CARBON” ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานสากล ดันกิจการด้านการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมไทย มุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เลขานุการ รมว.กระทรวง อว. เปิดงานแถลงข่าวเปิดตัวแอป “ZERO CARBON” ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานสากล ดันกิจการด้านการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมไทย มุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

คุณสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับมอบหมายจากคุณศุภมาส อิศรภักดี รมว.กระทรวง อว. ให้เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าว แอปพลิเคชัน “ZERO CARBON” เพื่อใช้ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการชดเชยคาร์บอน จากกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) เพื่อมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยมี รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผอ.หน่วยบริหารและการจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566

คุณสุชาดา กล่าวว่า แอปพลิเคชัน “ZERO CARBON” เกิดจากการพัฒนาชุดแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับผู้ประกอบการ เพื่อใช้ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการชดเชยคาร์บอน จากกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ สนับสนุนทุนวิจัยโดย บพข. กองทุน ววน. พร้อมใช้งานบนสมาร์ตโฟน โดยช่องทางการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “Zero Carbon” ได้แก่ Google Play และ App Store ซึ่งมีความสะดวกและรวดเร็วต่อการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการวัด การลด และการชดเชยคาร์บอนได้ด้วยตนเอง บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้ภาคส่วนต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไมซ์ มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมชดเชยคาร์บอนผ่านแอปพลิเคชัน มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ต่อไป

“แอปพลิเคชัน “ZERO CARBON” ไม่ใช่แค่ก้าวสำคัญของประเทศไทยในความเป็นกลางทางคาร์บอนเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญาณแห่งความหวังในการบรรลุเป้าหมายสูงสุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด โดยกระทรวง อว. พร้อมที่จะหนุนและส่งเสริมทางวิชาการด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ Pain Point ต่าง ๆ ของภาคอุตสาหกรรม พร้อมทำให้ประเทศไทยสามารถอนุรักษ์ธรรมชาติ ให้มีความสมบูรณ์ ควบคู่กับการสร้างงานสร้างรายได้ที่เป็นผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต”

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า