เยาวชนไทยและนานาชาติ ร่วมเสนอผลงานวิจัยดาราศาสตร์ ในงานประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำหรับเยาวชน) ครั้งที่ 9 ณ จังหวัดเชียงใหม่

เยาวชนไทยและนานาชาติ ร่วมเสนอผลงานวิจัยดาราศาสตร์ ในงานประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำหรับเยาวชน) ครั้งที่ 9 ณ จังหวัดเชียงใหม่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำหรับเยาวชน) ครั้งที่ 9 (TACs2023) เปิดเวทีนำเสนอโครงงานดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2566 ณ จังหวัดเชียงใหม่ มีเยาวชนไทยและต่างประเทศร่วมนำเสนอกว่า 80 ผลงาน หวังยกระดับมาตรฐานงานวิจัยระดับโรงเรียน ส่งเสริม และผลักดันยุววิจัยสู่ระดับนานาชาติ

คุณศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการ ศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า การประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำหรับเยาวชน) ประจำปี 2566 นับเป็นครั้งที่ 9 ของการจัดการประชุมดังกล่าว เป็นเวทีที่เปิดโอกาสเยาวชนไทยและต่างประเทศเข้าร่วมนำเสนอโครงงานดาราศาสตร์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ ๆ ผ่านกระบวนการทำงานวิจัยดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน มีเยาวชนจากทุกภูมิภาคของไทย และต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ร่วมนำเสนอผลงานรวมทั้งสิ้น 79 โครงงาน คัดเลือกจากทั้งหมดที่ส่งเข้าร่วมกว่า 150 ผลงาน  แบ่งเป็นการนำเสนอผลงานรูปแบบบรรยาย 36 โครงงาน และแบบโปสเตอร์ 43 โครงงาน ภายใต้หัวข้อหลัก 6 ประเภท ได้แก่ 1) ดวงอาทิตย์ 2) ระบบสุริยะและดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 3) ดาวฤกษ์ และกระจุกดาว 4) สสารระหว่างดาว กาแล็กซี และเอกภพ 5) ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ 6) อุปกรณ์-โปรแกรมทางดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ และ 7) โบราณดาราศาสตร์

ผลงานที่นำเสนอส่วนหนึ่งมาจากงานวิจัยของครูและนักเรียนในโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ภายในงานมีนักวิจัย นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ในแขนงต่าง ๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร. ร่วมรับฟังพร้อมให้คำแนะนำ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดงานวิจัย อีกทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ให้เกิดยุววิจัยรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงก่อให้เกิดเครือข่ายงานวิจัยดาราศาสตร์ในระดับเยาวชน ซึ่งจะก้าวสู่เครือข่ายงานวิจัยดาราศาสตร์ในระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต

สำหรับไฮไลต์ของงานนี้คือ การมอบเหรียญรางวัลให้กับสุดยอดโครงงานดาราศาสตร์ แบ่งเป็นประเภท เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง คัดเลือกจากคณะกรรมการโดยมีเกณฑ์การพิจารณา ได้แก่ ความสามารถในการนำเสนอผลงาน ความเข้าใจในเนื้อหาของผู้บรรยาย ความพยายาม ความถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และความแปลกใหม่ของตัวงาน

ซึ่งในปี 2566 นี้มีโครงงานที่ได้รางวัลเหรียญทอง จำนวน 9 โครงงาน  เหรียญเงิน จำนวน 10 โครงงาน และเหรียญทองแดง จำนวน 8 โครงงาน

ดร.มติพล ตั้งมติธรรม นักวิชาการดาราศาสตร์ สดร. หนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาในปีนี้ กล่าวว่า การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าสาขาใดก็ตาม จะช่วยให้นักเรียนได้นำความรู้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ ฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล วางแผนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ รวมถึงวางแผนรับมือกับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นทักษะที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในห้องเรียนปกติ

การเปิดเวทีนำเสนอผลงานโครงงานดาราศาสตร์จึงเป็นพื้นที่สำคัญที่ทำให้นักเรียนผู้ทำโครงงานได้รับการยอมรับในความรู้ ความสามารถ  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน และครูจากโรงเรียนอื่นที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็ได้ฝึกฝนการนำเสนอ และพัฒนาผลงานจากคำแนะนำที่เหมาะสมเพื่อนำไปปรับปรุง และต่อยอดความรู้จากการทำงานวิจัยต่อไป

นอกจากยุววิจัย ครุวิจัยที่มาร่วมนำเสนอโครงงานดาราศาสตร์ สดร. ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจทั่วไปเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานและกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วย ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการนำเสนอผลงานวิจัยดาราศาสตร์ สดร. ได้นำผู้ร่วมงานเดินทางไปยังอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ เยี่ยมชมนิทรรศการดาราศาสตร์แบบ Interactive และ รับฟังการบรรยายการดูดาว รวมถึงชมภาพยนตร์ดาราศาสตร์ในท้องฟ้าจำลองระบบฟูลโดมดิจิทัล ขนาด 160 ที่นั่ง ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของไทย นอกจากนี้ ยังจัดให้มีบรรยายพิเศษในหัวข้อ “สุริยุปราคา…ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สุดอัศจรรย์” โดย ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ด้วย

การประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำหรับเยาวชน) จัดขึ้นปีละ  1  ครั้ง  เปิดโอกาสให้เยาวชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ นำเสอผลงานการวิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ทางดาราศาสตร์ รับฟังคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และต่อยอดงานวิจัยสู่ระดับสากล  สำหรับผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมในครั้งถัดไป สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://www.narit.or.th

รายชื่อโครงงานที่ได้รับเหรียญรางวัล

โครงงานที่ได้รางวัลเหรียญทอง จำนวน 9 โครงงาน

  1. O03 : The study of the relationship between 10.7 cm. Solar Radio Flux and the number of sunspots โดย Mr. Anan Scraggs Advisor : Miss Sakuna Soithong  Varee Chiangmai School, Thailand
  2. O07 : Searching for Missing Pulsars: Analyzing Neutron Stars Progenitors and Their Association with Open Cluster โดยคุณธนวัฒน์ เอกวัฒน์ ครูที่ปรึกษา : คุณจอมพจน์ วงศ์เพชรอักษร (Max Planck Institute for Radio Astronomy) โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
  3. O08 : Application of Machine Learning Techniques for Solar Flare Prediction Towards Short-Range Space Weather Forecasting Using Solar Active Region Magnetograms โดยคุณภาณุพัฒน์ ศรีสุขวสุ ครูที่ปรึกษา : ดร. ธัญนันท์ สมนาม โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
  4. O09 : Development of a Classifier to Predict the Existence of Water in Exoplanets’ Atmosphere by Using Machine Learning โดยคุณวิชญ์ มูลสาร ครูที่ปรึกษา : คุณสุภาภรณ์ ตาปนานนท์  โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  5. O19 : การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของวิธีการคำนวณหาขนาดของโลกด้วยจันทรุปราคา โดยคุณกานต์สิรี สิงห์เนตร และคุณพนิดา อินทร์นวล ครูที่ปรึกษา : คุณวชิรา สุภาสอน  โรงเรียนเถินวิทยา
  6. O22 : การหาระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์และศึกษาความรีวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์จากภาพถ่าย โดยคุณภาวิณี ทวีพันธ์ และคุณปริตา ภูดวงจิต ครูที่ปรึกษา : คุณเอกณัฐพัชร์ ต้นสมบัติ โรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์
  7. O28 : การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด Light pollution ที่มีที่มาจากสวนสาธารณะ โดยคุณสุนิสา มะโนเจริญ และคุณจิรายุ กิจนิยม ครูที่ปรึกษา : นายบุญส่ง เห็นงาม โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
  8. O31 : แบบจำลองระบบดาวคู่ที่มีดาวแปรแสง โดยคุณพิมพ์พิชชา กาญจนเสถียร และคุณสิทธิรัตน์ ทองศิริ ครูที่ปรึกษา : คุณทวีรักษ์ ทูลพุทธา โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
  9. O32 : การทดลองปลูกพืชในสภาวะอัตราเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่มีค่ามากกว่าโลก โดยคุณปฏิพัทธ์ จิตพินิจ และคุณสุกฤตา เวหา ครูที่ปรึกษา : คุณบุญส่ง เห็นงาม โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

โครงงานที่ได้รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 10 โครงงาน

  1. O04 : The Design of Transit Midpoint Methods for Orbital Period of Exoplanet Analysis โดย Mr. Tanakit Kunyotying and Mr. Pakin Kunyotying, Varee Chiangmai School Advisor : Mr. Sarawut Pudmale
  2. O05 : Determination of Physical Parameters and Relationship of Radius Ratio Between Giant Gas Exoplanet and Host Star F-type based on Transit Method Analysis โดย Mr. Tanakorn Chaiyot, Varee Chiangmai School Advisor : Mr. Sarawut Pudmale  Varee Chiangmai School
  3. O12 : การศึกษาปรากฏการณ์ Retrograde โดยวิเคราะห์จากแผนภาพคณิตศาสตร์เชิงศิลป์ โดยคุณพุฒิพงศ์ เพชรวิเชียร และคุณชาลิสา จินตนเลิศ ครูที่ปรึกษา : คุณบุญส่ง เห็นงาม จากโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
  4. O24 : การศึกษาการเกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงที่มีผลจากการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ โดยคุณณิศวรา จันทร์ทับ ครูที่ปรึกษา : คุณบุญส่ง เห็นงาม โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
  5. O25 : การหาความสูงของดาวตกด้วยวิธีพาราแลกซ์ โดยคุณกันตวัฒน์ สุขหุ้ม ครูที่ปรึกษา: คุณศศิธร อินทรยงค์  โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์
  1. O30 : แบบจำลองเขตเอื้อชีวิตของระบบดาวฤกษ์นอกระบบสุริยะ โดยคุณศิรประภา รื่นเกษม และคุณศิลาฤทธิ์ หนูแก้ว ครูที่ปรึกษา : คุณทวีรักษ์ ทูลพุทธา  โรงเรียนพรหมานุสรณ์ เพชรบุรี
  2. O33 : การสร้างเครื่องบอกเฟตของดวงจันทร์แบบ 3 มิติ Lunar3D โดยคุณภัทรดนัย ทองล้น ครูที่ปรึกษา : คุณบุญส่ง เห็นงาม  โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
  3. O34 : แบบจำลองปรากฏการณ์ร่วมทิศของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ โดยคุณอมิสตา แก้วเนตร และคุณวิภารัตน์ จันทชารี ครูที่ปรึกษา : คุณปนิวัตร เส้นเกษ  โรงเรียนเหล่างามพิทยาคม
  4. O35 : การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องขจัดฝุ่นโดยคลื่นอัลตราโซนิค โดยคุณสารินี ขันติธรรมกุล และคุณอัครวินท์ พรวิลาศศิริ ครูที่ปรึกษา : คุณบุญส่ง เห็นงาม  โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
  5. O36 : การศึกษาการวางทิศของสิมโบราณวัดนาควายด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์ โดยคุณธนธรณ์ ทาคูบอน และคุณพราวนภา จันทะชารี ครูที่ปรึกษา : คุณปนิวัตร เส้นเกษ  โรงเรียนเหล่างามพิทยาคม

โครงงานที่ได้รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 8 โครงงาน

  1. O11 : การหาความหนาแน่นของดาวพฤหัสบดีจากกฎข้อที่สามของเคปเลอร์ โดยการคํานวณจากคาบการโคจรของดวงจันทร์กาลิเลียน โดยคุณวริศรา มงคลเอก ครูที่ปรึกษา : คุณธวัชชัย สุวรรณวงศ์  โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี
  2. O15 : การศึกษาธาตุองค์ประกอบของดาวฤกษ์ที่มีสเปกตรัมแตกต่างกันและความเร็วในแนวเล็งของดาวฤกษ์ที่มีตำแหน่งต่างกัน โดยคุณจิรัฐชัย กล้าหาญ และคุณปาลิตา พลชาลี ครูที่ปรึกษา : คุณจักรกฤษณ์ วงษ์วิทยานันท์  โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา
  3. O17 : การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความคลาดเคลื่อนของระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ จากปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ ด้วยวิธี Lunar Parallax โดยคุณปัณฑิตา สังข์อุไร และคุณปาณิสรา จันทร์นวล ครูที่ปรึกษา : คุณนิสา พันละภะ  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
  4. O18 : การหาระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์จากภาพถ่ายปรากฏการณ์จันทรุปราคา (Lunar Eclipse) โดยใช้โปรแกรม Geometer’s Sketchpad โดยคุณภุมรินทร์ ชัยณรงค์ และคุณรสสุคนธ์ วงศ์อยู่ ครูที่ปรึกษา : คุณสหรัฐ แก้วในหิน  โรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร
  5. O21 : การเปรียบเทียบการหาคาบการโคจรของดวงจันทร์ด้วยวิธีการวัดระดับน้ำขึ้น น้ำลงและวิธีการสังเกตมุมเงยของดวงจันทร์เมื่อเคลื่อนที่ผ่านเส้นเมอริเดียน โดยคุณวีธรา เสียงใส และคุณชนัญธิดา สายบุตร ครูที่ปรึกษา : คุณสิทธิชัย สุวรรณศรี โรงเรียนวัดป่าประดู่
  6. O26 : การศึกษาการโคจรของดวงจันทร์ จากการเปลี่ยนแปลงขนาดเชิงมุมในตำแหน่งที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเส้น meridian โดยคุณปิติพงษ์ พันน้อย และคุณพิมพ์ลพัส พันลูกท้าว ครูที่ปรึกษา : คุณบุญส่ง เห็นงาม  โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
  7. O27 : การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระพริบของดาว โดยคุณวิโรจน์รัตน์ จรรยาสิทธิ์ และคุณวิชชากรณ์ กิตติสมร  ครูที่ปรึกษา : นายพจงจิตร นาบุญมี  โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่
  1. O29 : การสร้างแบบจำลองวงโคจรของดวงจันทร์จากการวัดระยะห่างโดยวิธีวัดขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์  โดยคุณเกณิกา หิรัญคุปต์ และคุณณัฏฐศศิ ท่อทิพย์  ครูที่ปรึกษา : คุณนัทธพงศ์ ส่งอำไพ  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า