เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย เผยความพร้อมจัดงาน “wire & Tube Southeast Asia 2023-GIFA & METEC Southeast Asia 2023”

เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย เผยความพร้อมจัดงาน “wire & Tube Southeast Asia 2023-GIFA & METEC Southeast Asia 2023”

งานมหกรรมด้านอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สายไฟ เส้นลวด สายเคเบิล ท่อและท่อร้อยสาย ที่จะส่งเสริมและผลักดันภาคธุรกิจให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ล่าสุดร่วมกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย และสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ตอกย้ำความเชื่อมั่นในการเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันตลอดจนแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่อุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่าง ๆ ของไทย รับการฟื้นตัวของภาคการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงผลักดันไทยสู่การเป็นฮับลงทุนที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

มร.เกอร์นอท ริงลิ่ง กรรมการผู้จัดการ เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย กล่าวว่า “สถานการณ์การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว รวมถึงการสานต่อโครงการก่อสร้างที่ล่าช้าไปในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้คาดการณ์ว่าภาคอุตสาหกรรมที่จะมีการเติบโตในปีนี้ ได้แก่ การก่อสร้าง งานวิศวกรรมโยธา การผลิตพลังงาน การขนส่ง รวมถึงการผลิตบรรจุภัณฑ์เหล็กและโลหะ ซึ่งมีเหล็กโครงสร้างเป็นองค์ประกอบสำคัญ ส่งผลให้ความต้องการเทคโนโลยีโลหะวิทยาและการหล่อโลหะมีความต้องการสูงเป็นพิเศษในภูมิภาคดังกล่าว”

นอกจากนี้ การที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ยกให้การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ งานปรับปรุงทางด่วนแห่งชาติ ทางหลวง สนามบิน โครงการระบบขนส่งมวลชน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ตลอดจนงานสาธารณสุขและเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล ขึ้นเป็นวาระสำคัญของการประชุมระดับชาติ จะส่งผลให้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการคาดการณ์ถึงการขยายตัวของตลาดสายไฟและสายเคเบิลในระดับภูมิภาคอีกด้วย ขณะเดียวกัน เพื่อตอบสนองต่อการเติบโตที่รวดเร็วและความต้องการพลังงานที่สูงขึ้น หลายประเทศภายในภูมิภาคจึงมีการปรับลดแหล่งพลังงานที่ไม่หมุนเวียนและเพิ่มการลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียน ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะช่วยสร้างข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม รวมถึงโอกาสการจ้างงานใหม่ ๆ ตลอดจนส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านภูมิภาคสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

คุณวิโรจน์ โรจน์วัฒนชัย ผู้อำนวยการ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบันประเทศไทยบริโภคเหล็กเฉลี่ยปีละ 18 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าราวปีละ 450,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเม็ดเงินมหาศาล การสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กจึงถือเป็นนโยบายสำคัญ นอกจากนี้ เหล็กยังเป็นวัสดุสำคัญที่นำมาผลิตสินค้าต่าง ๆ ในวงการอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ซึ่งในทศวรรษหน้าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงแนวโน้มที่ดี อันเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและสาธารณูปโภค”

สืบเนื่องจากเทรนด์การดำเนินอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมล่าสุด การผลิตและบริโภคเหล็กจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก เพราะนอกจากจะช่วยลดแรงงานและระยะเวลาในการก่อสร้างแล้ว เหล็กยังเป็นวัสดุที่รีไซเคิลได้ 100% สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยโรงงานผลิตเหล็ก ท่อ และลวด เริ่มปรับปรุงให้มีการประหยัดพลังงานเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันผู้บริโภคเริ่มยอมรับการใช้เหล็กหรือวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ในการก่อสร้างและผลิตสินค้าต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ในตลาดโลกล้วนมีนโยบายในการคิดค้นเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งประเทศไทยนับว่า มีการปล่อยคาร์บอนในการผลิตเหล็กต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก เนื่องจากเหล็กส่วนใหญ่ผลิตจากกระบวนการรีไซเคิลและเทคโนโลยีควบคุมกระบวนการผลิตที่ช่วยให้กระบวนการผลิตสะอาด ลดการใช้พลังงาน และทำให้สินค้าเหล็กที่ผลิตขึ้นมาในปัจจุบันเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมอและเป็นที่น่าเชื่อถือต่อผู้บริโภค

“อีกทั้งผู้ผลิตเหล็กและสินค้าเหล็กมีนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่นเหล็กที่มีความแข็งแรงมากขึ้นในขณะที่มีน้ำหนักเบาลง เมื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าก็จะมีสินค้าที่แข็งแรงทนทานและน้ำหนักเบา เมื่อผลิตเป็นรถยนต์ก็ได้รถที่มีความแข็งแรงแต่น้ำหนักเบาช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงและพลังงาน เป็นต้น ดังนั้นการติดตามเทคโนโลยีทางด้านวัสดุศาสตร์นี้จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายและเป็นโอกาสในทางธุรกิจในอนาคต”

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย กล่าวถึงอุตสาหกรรมการก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยว่า ภาคอุตสาหกรรมไทยปีนี้เผชิญความท้าทายหลายประการ อาทิ ปัญหาราคาน้ำมันและวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาปูนซีเมนต์และเหล็กซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก ส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ รวมถึงปัญหาขาดแคลนแรงงานหลังโควิด-19 อันเป็นอุปสรรคให้โครงการก่อสร้างมีความล่าช้า แต่ในขณะเดียวกัน จากแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงสามารถผลักดันให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยเติบโตตามไปด้วย พร้อมกันนี้ อานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวยังได้ส่งผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์เอกชนมีการฟื้นตัว สะท้อนจากการเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ ทั้งโครงการที่อยู่อาศัยในแนวราบและโครงการที่อยู่อาศัยในแนวสูง รวมถึงพื้นที่ค้าปลีก ศูนย์การค้า และโรงแรมในเมืองท่องเที่ยว ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นการวางระบบกลุ่มสถานที่ อาคารสำนักงาน ระบบสุขาภิบาล การปรับปรุงทางด่วนแห่งชาติ ทางหลวง สนามบิน โครงการขนส่งมวลชน ไปจนถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ ที่ภาครัฐเตรียมลงทุนในอนาคตอันใกล้อีกด้วย

โดยจากปัจจัยแวดล้อมดังกล่าว ทำให้เชื่อมั่นว่า จะได้เห็นแผนการผลักดันและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะได้เห็นแนวโน้มดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ดี โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มีความเสี่ยงและอันตรายในทุกขั้นตอน การทำงานจึงต้องยึดความปลอดภัยของสาธารณะเป็นสำคัญ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้แก่โครงการที่อาจกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน ดังนั้น ภาครัฐจึงควรร่วมมือกับภาควิชาชีพ เพื่อสร้างกลไกการตรวจสอบโครงการก่อสร้างอย่างจริงจังและเคร่งครัด เช่น การจัดให้มีคณะผู้ตรวจอิสระ ที่มีความรู้และอำนาจในการเข้าตรวจสอบโครงการก่อสร้างต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงการที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน และต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างเข้มงวด

“ด้วยความสำคัญของมาตรฐานความปลอดภัยในปัจจุบัน เทคโนโลยีทางวิศวกรรมจึงเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ทั้งในเชิงการวางแผนการก่อสร้างเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น ต้นทุน เวลา การลดภาระงาน รวมถึงสามารถควบคุมมาตรฐานการก่อสร้างประสิทธิภาพสูงได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย”

“จากปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ จึงเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุตสาหกรรมโดยเฉพาะในประเทศไทย จะได้ร่วมเสริมสร้างความแข็งแกร่งการดำเนินงานในภาคอุตสาหกรรม และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อโอกาสทางธุรกิจดังกล่าว เมสเซ่ ดุสเซดอล์ฟ เอเชีย เตรียมจัดงาน “wire & Tube Southeast Asia 2023-GIFA & METEC Southeast Asia 2023” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 20–22 กันยายน 2566 นี้ ณ ไบเทค บางนา ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มด้านอุตสาหกรรม สินค้า และนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานครบวงจรที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่รวม 4 มหกรรมด้านอุตสาหกรรมสุดยิ่งใหญ่ไว้ด้วยกัน

ซึ่งจะเป็นการรวมตัวผู้ผลิตซัพพลายเออร์ รวมถึงผู้ให้บริการโซลูชันที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม อาทิ สายไฟ เส้นลวด สายเคเบิล ท่อและท่อร้อยสาย ฯลฯ เข้าร่วมมากกว่า 400 ราย จาก 30 ประเทศทั่วโลก อาทิ ออสเตรีย จีน เยอรมัน อิตาลี ไต้หวัน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เตรียมพบกับกิจกรรมหลากหลายรายการ ทั้งการจับคู่ทางธุรกิจ รวมถึงการประชุมและสัมมนาเชิงวิชาการที่น่าสนใจโดยผู้เชี่ยวชาญ ตอบโจทย์ความต้องการครอบคลุมทั้งธุรกิจก่อสร้าง ยานยนต์ พลังงาน ก๊าซ ไปจนถึงโรงงานผลิต-ขึ้นรูปโลหะ และเหล็กกล้า ที่จะเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันภาคอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่อง สอดรับการขยายตัวของภาคธุรกิจที่จะเกิดขึ้นตลอดจนกระตุ้นการตัดสินใจลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อันเป็นฟันเฟืองสำคัญของการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจในอนาคต”

สำหรับผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อลงทะเบียนเพื่อเยี่ยมชมงาน สามารถติดตามรายละเอียดได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.wire-southeastasia.com www.tube-southeastasia.com www.metec-southeastasia.com และ www.gifa-southeastasia.com หรือโทร. 02-559-0856

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า