สารเคลือบนาโนโชว์ลายไม้สัก พร้อมกันน้ำ กันฝุ่น

สารเคลือบนาโนโชว์ลายไม้สัก พร้อมกันน้ำ กันฝุ่น

สตาร์ตอัปนาโนเทค สวทช. ส่งนวัตกรรมจากเทคโนโลยีเคลือบนาโน สนับสนุนผลงานศิลปะจากไม้สัก ที่จัดแสดงในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566 หรือ Bangkok Design Week 2023 ณ ถนนสายไม้ ซอยประชานฤมิตร บางโพ ที่จัดขึ้นวันที่ 4-12 กุมภาพันธ์ 2566 เคลือบผลงานไม้สัก ช่วยกันน้ำ กันฝุ่น แต่ยังคงโชว์ลายเนื้อไม้ ไม่เปลี่ยนแปลงพื้นผิวเดิม ต่อยอดขยายการใช้ประโยชน์นวัตกรรมสู่แวดวงศิลปะ หนุนศิลปินโชว์ผลงานจากความคิดสร้างสรรค์แบบไร้ขีดจำกัด

ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ Managing Director บริษัท นาโน โค๊ตติ้ง เทค จำกัด กล่าวว่า ทีมวิจัยนำองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) ที่ต่อยอดสู่สารเคลือบที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย

“เราได้รับโจทย์จากคุณเจนณรงค์ ทาคูมิ ซาก้า ผู้จัดการโครงการ “ถนนสายไม้ บางโพ ตำนานที่มีชีวิต” และ ดร.กุลเชฏฐ์ เมืองนาโพธิ์ นักวิจัยทีมวิจัยเคมีเซรามิก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ผู้ประสานงาน ว่า มี 2 ผลงานไฮไลต์ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566 (BDW2023) ซึ่งเป็นงานไม้ โดยต้องการการเคลือบเฉพาะ”

ดร.กุลเชฏฐ์ กล่าวในฐานะผู้ประสานงานว่า ทางผู้จัดงานสนใจจะนำน้ำยาเคลือบนี้ไปพ่นเคลือบงานไม้ที่เป็นไฮไลต์ 2 ผลงานคือ Balance In Space และ The Life of Wood โดยเป็นไม้สักที่มีลายไม้เฉพาะ ที่ศิลปินเจ้าของผลงานจำเป็นต้องเคลือบชิ้นงานเพื่อกันฝุ่นกันน้ำในระหว่างจัดแสดงกลางแจ้ง ณ ถนนสายไม้ บางโพ แต่ต้องการให้ยังเห็นลายไม้สักแบบผิวด้านอยู่ เนื่องจากเคยลองใช้สารเคลือบอื่นพบว่า ทำให้พื้นผิวมีความเงา ไม่ตรงกับที่ต้องการ รวมถึงกระบวนการในการเคลือบก่อนหน้าใช้วิธีทา ซึ่งใช้เวลานานกว่าวิธีการพ่นเคลือบจากสารเคลือบนาโน

นวัตกรรมสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษนี้ เป็นน้ำยาเคลือบสำหรับปรับค่ามุมสัมผัสของน้ำบนวัสดุ (Water contact angle) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการลดการเกาะของฝุ่นให้แก่พื้นผิว รวมถึงทำให้น้ำ น้ำมัน หรือของเหลวที่ตกกระทบผิววัสดุ มีลักษณะเป็นก้อนกลมกลิ้งไหลออกจากพื้นผิว ลดการยึดเกาะและชำระล้างฝุ่นรวมถึงสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากแผงโดยไม่ทิ้งคราบน้ำ

ผลการนำสารเคลือบนาโนไปใช้ ดร.ธันยกร ชี้ว่า พื้นผิวไม้สักที่ผ่านการคลือบยังคงแสดงลายไม้ มีลักษณะพื้นผิวแบบด้านตามที่ศิลปินต้องการ และมีสมบัติการกันน้ำ กันฝุ่นเพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการในถนนสายไม้เป็นอย่างมาก และได้มีการติดต่อให้นำสารเคลือบดังกล่าว ไปทดลองใช้กับไม้ชนิดอื่นในเชิงพาณิชย์อีกด้วย

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า