สหเวชฯ มธ. ส่ง “Home Kidney” ชุดทดสอบการทำงานของไต คว้าเหรียญเงิน เวที I-New Gen Award 2023

สหเวชฯ มธ. ส่ง “Home Kidney” ชุดทดสอบการทำงานของไต คว้าเหรียญเงิน เวที I-New Gen Award 2023

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบรางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 ระดับอุดมศึกษา รางวัลเหรียญเงิน ด้านสุขภาพและการแพทย์ ให้กับผลงาน “ชุดทดสอบความเสี่ยงโรคไตในปัสสาวะแบบสำเร็จรูป ที่ทดสอบได้ตนเองที่บ้าน” จากคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566

คุณอารียา ปุณโณปกรณ์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้ร่วมคิดค้นผลงานนี้ กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคไตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากถึงประมาณ 8 ล้านคน และหากไม่ได้รับการรักษา จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 18.9 ต่อปี โรคไตนั้นเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรม ด้านพฤติกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม

โดยในปัจจุบันพบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดไตวายเรื้อรังบ่อยที่สุด คือโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สาเหตุของโรคไตที่สำคัญในประเทศไทยอีกสาเหตุหนึ่งคือ การกินยาที่มีผลต่อการทำงานของไต จากการกินยาแก้ปวดปริมาณมากหรือการกินยาสมุนไพรบางชนิด การดูความเสื่อมการทำงานของไตสามารถดูจากค่า Creatinine ซึ่งเป็นของเสียที่ผลิตจากกล้ามเนื้อ และโปรตีน Albumin ที่รั่วออกมาในปัสสาวะ หากพบว่า Albumin ในปัสสาวะมีปริมาณมากกว่าระดับปกติแม้เพียงเล็กน้อยก็หมายความว่า ผู้ป่วยเป็นโรคไตระยะที่สูงขึ้น

ชุดทดสอบ Home Kidney ถูกออกแบบมาให้สามารถประเมินประสิทธิภาพการทำงานของไตได้โดยการตรวจหาสาร 2 ชนิดที่หลั่งออกมากับปัสสาวะ ได้แก่ Microalbumin และ Creatinine นำมาแปลผลเป็นอัตราส่วน Microalbumin ต่อ Creatinine ที่จะให้ความแม่นยำถึงร้อยละ 93 ในการทำนายการเป็นโรคไตภายใน 5 ปี ซึ่งมีจุดเด่น คือ ใช้งานง่าย โดยตรวจจากปัสสาวะในรูปแบบที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้านและไม่ต้องเจ็บตัว อีกทั้งสามารถอ่านผลได้เอง มีความแม่นยำในการทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังได้มากกว่า แถบตรวจปัสสาวะทั่วไป ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญผู้ป่วยสามารถตรวจได้ที่บ้านด้วยตนเอง ลดการสูญเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็นและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วงคัดกรองผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคไตให้ได้เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารก่อนจะสายเกินไปที่จะต้องดำเนินเข้ารับการรักษาและเสี่ยงที่จะต้องฟอกไตในอนาคตอีกด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงพัฒนาหาความแม่นยำของชุดตรวจ โดยการทดสอบกับปัสสาวะของผู้ป่วยเพื่อเทียบกับค่า Albumin และ Creatinine จริงของผู้ป่วย

สำหรับ “ชุดทดสอบความเสี่ยงโรคไตในปัสสาวะแบบสำเร็จรูป ที่ทดสอบได้ตนเองที่บ้าน” หรือ “Home Kidney” เป็นผลงานของคุณอารียา ปุณโณปกรณ์ และคุณอันนา ทีฆะทิพย์สกุล นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น อาจารย์ประจำหลักสูตรวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ รศ.ดร. อดิศว์ ทัศณรงค์ คณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานฝ่ายวิจัยสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า