สวทช. ร่วมกับ สทป. เดินหน้า ความร่วมมือด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สวทช. ร่วมกับ สทป. เดินหน้า ความร่วมมือด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ลงนามความบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566ณ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

โดยทั้งสองหน่วยงานสนับสนุนความเชี่ยวชาญ ของบุคลากรและการสนับสนุนทรัพยกรงานวิจัยร่วมกัน โดยมีพลเอกชูชาติ บัวขาว ผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) และศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนาม พลตรีพีรพงศ์ โพธิ์เหมือน รองผู้อำนวยการ สปท. และดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ร่วมเป็นพยาน ทั้งนี้ความร่วมมือดังกล่าวเพื่อสร้างองค์ความรู้ การใช้เทคโนโลยี และกิจกรรมนวัตกรรมเทคโนโลยีสองทางทุกรูปแบบ อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายในการผลักดันให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็น S-Curve ตัวที่ 11 โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม รับผิดชอบในการส่งเสริมและวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสองทาง (Dual-Use) ที่สร้างขีดความสามารถให้มีการใช้งานได้ทั้งในภารกิจด้านความมั่นคงและสำหรับภาคพลเรือนทั่วไปเชิงพาณิชย์

พลเอก ชูชาติ บัวขาว ผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) กล่าวว่า การร่วมลงนามในครั้งนี้ เป็นการยกระดับความร่วมมือที่มีอยู่ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ซึ่งเกิดจากทั้งสองฝ่าย ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี และการร่วมกันจัดหาและสนับสนุนทรัพยากร เช่น งบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยี เครื่องมือ และสถานที่ ร่วมกันเสริมสร้างและแลกเปลี่ยนบุคลากร ความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลทางวิชาการ ร่วมกันจัดฝึกอบรม ประชุม สัมมนา เพื่อพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถแก่บุคลากรของทั้งสองฝ่าย ตลอดจนหน่วยงานในเครือข่ายความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันขยายผลการนำผลงานวิจัยพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ รวมทั้งขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มุ่งเน้นในการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ของประเทศ และเชื่อมโยงกับพันธมิตรในทุกภาคส่วนในการขยายผลการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยความร่วมมือจากศูนย์วิจัยภายใต้สวทช. ซึ่งมีศูนย์แห่งชาติที่มีความเชี่ยวชาญและมีความรู้ความสามารถในทางวิทยาศาสตร์ อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ศูนย์โลหะและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ

ทั้งนี้พันธกิจหลักหนึ่ง คือกลุ่มศูนย์ฯ Focus Center สวทช. โดยได้มอบหมายนโยบายให้ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ มีพันธกิจในการสร้างเครือข่ายด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา NSD ได้มีความร่วมมือสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านวิชาการ ร่วมกับ สทป. ในการเป็นที่ปรึกษาและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ด้านความมั่นคงอย่างต่อเนื่องตลอดมา เพื่อให้เกิดการขยายผลของการนำผลงานวิจัยไปประยุกต์สู่การใช้งานด้านความมั่นคงและเชิงพาณิชย์ให้มีประสิทธิภาพ

“ในช่วงที่ผ่านมาศูนย์ NSD ได้มีความร่วมมือสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านวิชาการ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ อาทิ การเชิญเป็นคณะกรรมการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี “การจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีสองทางและความมั่นคง (Dual use and Security Technology) เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่มุ่งสู่ยุค 4.0 ในอนาคต” ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและแผนการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้องกับทิศทางของเทคโนโลยีด้านความมั่นคง ให้เกิดการขยายผลของการนำผลงานวิจัยไปประยุกต์สู่อุตสาหกรรมให้กับประเทศ โดย สวทช. มีบทบาทหลักของการสนับสนุนทั้งองค์ความรู้ เทคโนโลยีและบุคลากรวิจัย เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติสูงสุด”

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า