สกสว. เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในหลากหลายมิติ “AI จุดเปลี่ยน หรือจุดจบของมนุษยชาติ”

สกสว. เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในหลากหลายมิติ “AI จุดเปลี่ยน หรือจุดจบของมนุษยชาติ”

รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล ผู้อำนวยการ กลุ่มภารกิจการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการ “AI จุดเปลี่ยน หรือจุดจบของมนุษยชาติ” ณ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ เพื่อค้นหาคำตอบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมิติที่หลากหลาย เพื่อเตรียมพร้อมรับผลกระทบและใช้ประโยชน์จาก AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์บทบาทของกองทุน ววน. ในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้าน AI ของประเทศเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต จากข้อกังวลว่าในอนาคตมนุษย์จะถูกแทนที่ด้วย AI หรือไม่ ประเทศไทยจะปรับตัวและเตรียมความพร้อมของกำลังคนและความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีของตนเองได้อย่างไร

ผลการดำเนินงานในปี 2563-2565 มีการใช้งบประมาณพัฒนากำลังคนกว่า 400 ล้านบาท/ปี คิดเป็นร้อยละ 3.5 ของกองทุน ววน. โดย AI ไทยได้สร้างกระแสความสนใจ ความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นแก่คนทั่วไป มี AI@Shool ที่พัฒนาเครื่องมือสอน AI พัฒนานวัตกรรม วิศวกร นักวิจัย วิสาหกิจเริ่มต้นด้าน AI ป้อนสู่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม และหุ่นยนต์ที่ช่วยเหลือแพทย์ตรวจจับความผิดปกติบนภาพถ่ายรังสีทรวงอกให้ทุกคนเข้าถึงบริการแม้ในพื้นที่ห่างไกล “สิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีความพร้อมในการปรับตัวและใช้งานดิจิทัลเทคโนโลยี คือ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจได้สูงถึง 1 ล้านล้านบาท ในปี 2654 เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน มีการเติบโตของธุรกิจค้าขายออนไลน์ ส่งอาหารและการท่องเที่ยวออนไลน์ และมีแนวโน้มที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นในกลุ่มเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมถึงอัตราการใช้จ่ายออนไลน์สูงถึงร้อยละ 92 ความท้าทายคือ แพลตฟอร์มสัญชาติไทยด้านสุขภาพการแพทย์และบริการทางการเงินมีโอกาสจะเข้ามามีบทบาทและได้ส่วนแบ่งตลาด เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญต่อความเข้มแข็งของเทคโนโลยีดิจิทัลสัญชาติไทยก่อนที่จะขยับออกไปในตลาดนอกประเทศ”

ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านของ AI ทำให้หลายงานเสี่ยงกับการถูกระบบอัตโนมัติทดแทน แต่อีกนานนับร้อย ๆ ปีกว่าที่ AI จะทำได้ดีกว่ามนุษย์ ทั้งนี้มีความต้องการกำลังคนในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจฐาน AI เพิ่มมากขึ้น ในปี 2563-2567 มีความต้องการถึงกว่า 4.7 หมื่นคน จาก 23 สาขาอาชีพ ซึ่งในปีที่ผ่านมาไทยมีมูลค่าการลงทุนด้าน AI 639 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมกว่าร้อยละ 50 โดยมนุษย์มีบทบาทเป็นผู้สร้างและผู้ใช้ทั้งในฐานะเป็นเครื่องมือ เพื่อนร่วมงาน และสมาชิกในครอบครัว

ขณะที่วงเสวนา “ความพร้อมของประเทศและการพัฒนากำลังคนทักษะสูงด้าน AI” ดร.เทพชัย ระบุว่า สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงคือ จริยธรรมในการใช้ AI ปัจจุบันไทยมีความพร้อมค่อนข้างมาก เห็นได้จากจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ Super AI Engineer ที่ผ่านมาทั้ง 3 รุ่น มีผู้สมัครรวมกว่า 1.5 หมื่นคน มีความหลากหลายทั้งอายุ เพศ การศึกษา และอาชีพ ภาพอนาคตจะมีข้อมูลที่หลากหลายและใช้ AI มากขึ้น

ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวว่า DEPA ส่งเสริม AI ในภาคอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น แต่ปัญหาคือ การผลิตกำลังคนยังไม่เพียงพอที่จะเข้าถึงภาคธุรกิจและเหมาะกับแอปพลิเคชันประเภทใด รวมถึงต้องส่งเสริมการยกระดับทักษะกำลังคนเฉพาะสาขา เตรียมพื้นฐานด้านข้อมูล โดยหน่วยงานภาครัฐได้แยกตัวออกมาเป็นองค์การมหาชนทั้งด้านสุขภาพและการท่องเที่ยวร่วมกับภาคเอกชน และการทำธุรกิจออนไลน์

​ส่วนมุมมองจากภาคเอกชน คุณโอม ศิวะดิตถ์ จากบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า เทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนามากขึ้นจะพลิกโฉมจากที่ต้องมีนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรข้อมูล เป็นคนมีความสามารถรอบด้านมากขึ้น เข้าถึงและสื่อสารให้ AI ทำงานได้โดยใช้โมเดลภาษา จึงเป็นโอกาสของคนที่มีทักษะภาษาและ AI สามารถแข่งกับโปรแกรมเมอร์ได้ ลูกจ้างต้องมีทักษะ AI วิเคราะห์ตัดสินใจและชั่งน้ำหนักว่าสิ่งที่ AI ทำนั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ คนจะอยู่ร่วมกับ AI ได้อย่างชาญฉลาดได้อย่างไร ใครพร้อมจะเรียนรู้ของใหม่ได้เร็วกว่า เราจึงหยุดเรียนรู้ไม่ได้

ทั้งนี้ การพัฒนาแผน ววน. ด้าน AI นั้น ผู้ร่วมเสวนาเห็นว่า ต้องรู้จักหยิบฉวยเทคโนโลยีมาใช้ในประเทศไทย สร้างโมเดลเฉพาะกิจของไทยหรือระบบปฏิบัติการ Open Source ส่งเสริมการพัฒนาหรือสร้างทักษะของกำลังคนในหลายมิติ สามารถใช้ AI แก้ปัญหาและตอบโจทย์ในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีราคาถูก เข้าถึงคนได้กว้างขวาง

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า