สกสว. จับมือภาควิชาการ กระตุ้นภาคนโยบาย เอกชน และสังคมร่วมคิดร่วมทำ เพื่อผลักดันระบบสุขภาพและการแพทย์ของประเทศ ให้ก้าวหน้าด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

สกสว. จับมือภาควิชาการ กระตุ้นภาคนโยบาย เอกชน และสังคมร่วมคิดร่วมทำ เพื่อผลักดันระบบสุขภาพและการแพทย์ของประเทศ ให้ก้าวหน้าด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

รศ.ดร.นพ.บวรศม ลีระพันธ์ ประธานคณะทำงานบูรณาการประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านการสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า สกสว. ได้จัดเสวนาชวนคิด “การกำหนดนโยบายและทิศทางสำคัญต่อการผลักดันระบบสุขภาพและการแพทย์ของประเทศ” ภายใต้นิทรรศการแสดงผลงานวิจัยของหน่วยงานระบบ ววน. และ Policy Forum เพื่อสนับสนุนการทำงานในกระบวนการนิติบัญญัติ โดยมุ่งพัฒนางานวิจัยเพื่อประชาชน เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายต้องการกำหนดทิศทางนโยบายสุขภาพบนพื้นฐานของหลักฐานวิชาการจากการศึกษาวิจัยมากขึ้น ทั้งการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตด้านเศรษฐกิจ และการสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพเพื่อพัฒนาความเป็นธรรมด้านสุขภาพและลดความเหลื่อมล้ำ ระบบ ววน. จึงต้องมีงานวิจัยในศาสตร์ที่หลากกลายเพื่อสร้างความรู้ใหม่ที่จำเป็นให้มีความจำเพาะกับสังคมไทย โดยการทำงานแบบร่วมคิดร่วมสร้างระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วน

ผู้ร่วมเสวนาทั้ง รศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ รองประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) และ ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) เห็นตรงกันว่า ระบบ ววน. ต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชนเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ โดยภาครัฐเป็นทั้งผู้สนับสนุนและผู้ควบคุมกำกับดูแลมาตรฐาน ส่วนการสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ สถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าเมื่อประเทศอยู่ในภาวะวิกฤตผู้กำหนดนโยบายต้องการงานวิชาการที่สร้างความรู้ในระยะเร่งด่วน ขณะที่นักวิชาการต้องสื่อสารหรือถ่ายทอดงานวิจัยให้ผู้กำหนดนโยบายเข้าใจได้โดยง่าย นอกจากนี้ระบบ ววน. ยังต้องส่งเสริมให้ทำงานวิชาการอย่างต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อป้องกันและรับมือกับวิกฤตของระบบสุขภาพในอนาคต

สถานการณ์ภาพรวมของโลกพบว่า เมื่อเกิดวิกฤตด้านสุขภาพ หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยยังขาดแคลนเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ใช้จัดการกับปัญหา ระบบ ววน. จึงต้องมองไกลเพื่อสร้างและสะสมองค์ความรู้ที่จะเพิ่มศักยภาพในการสร้างเทคโนโลยีที่ดีขึ้นได้เอง เตรียมพร้อมและช่วยเหลือตัวเองให้ได้เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ ส่วนการวิจัยเชิงนโยบายก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะเป็นแรงขับเคลื่อนการใช้นวัตกรรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการศึกษาวิจัยภายในระบบ ววน. และกระบวนการนโยบายสาธารณะยังมีช่องว่างอยู่ ทั้งการเตรียมพร้อมในการนำงานวิชาการไปใช้ประโยชน์ที่รวดเร็ว เฉียบคม และครบถ้วน การบูรณาการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ให้มีกองทุนช่วยเหลือสตาร์ตอัปในการลงทุนเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ของผู้กำหนดนโยบาย ผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนให้ได้ทั้งองคาพยพ โดยสร้างแผนที่นำทาง ลดข้อจำกัดในการพัฒนาบุคลากร และมีวิสัยทัศน์ร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ

เช่นเดียวกับการเสวนา “ระบบสุขภาพเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีของคนไทย และผลงานวิจัยนวัตกรรมสู่การใช้จริงภายใต้มาตรฐานสากล” ที่สะท้อนภาพ ววน. ที่มีผลต่อการสร้างสุขภาวะ งานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงนโยบายและข้อเสนอแนะที่จะช่วยผลักดัน ววน. ให้เกิดผลกระทบที่ดีต่อสุขภาพของคนไทย โดย ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงานวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) ศ. ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ บพข. และ รศ.ดร.บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้บริหารสูงสุดและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เมติคูลี่ จำกัด ให้ข้อเสนอแนะว่า การทำงานในระบบ ววน. ต้องกำกับดูแลและพัฒนาร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมีผู้จัดการงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นโซ่ข้อกลางนำงานไปสู่ผู้ใช้ประโยชน์จริง

“ประเทศไทยจะพึ่งพาตัวเองด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ประชาชนเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และระบบสุขภาพมีความเป็นธรรมได้อย่างแท้จริงนั้น จำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์และทิศทางการขับเคลื่อนร่วมกัน มีเป้าหมายชัดเจน และเชื่อมโยงทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชน ส่วนการเพิ่มศักยภาพของประเทศอย่างก้าวกระโดดและทัดเทียมต่างประเทศ จะต้องส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมได้ ลดความซ้ำซ้อนและลดช่องว่างในการทำงาน กำหนดเป้าหมายของประเทศในการส่งเสริมการผลิตยา วัคซีน เครื่องมือแพทย์ ให้ชัดเจน เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ยังขาดหายไปของการมุ่งสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์ของประเทศไทย จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้กำหนดนโยบายอย่างต่อเนื่อง ปรับระบบงบประมาณให้เหมาะสม ตลอดจนการลงทุนพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร และก้าวตามการพัฒนาความรู้ทางการแพทย์ในระดับโลกให้ทัน” รศ.ดร.นพ.บวรศม กล่าวสรุป

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า