สกสว. จัดประชุม STO FORUM ครั้งที่ 9 มุ่งส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สกสว. จัดประชุม STO FORUM ครั้งที่ 9 มุ่งส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการประชุม Science and Technology Organization Forum (STO Forum 9) ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 โดยได้มีการเชิญผู้บริหารหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อขอบเขตและแนวทางการสนับสนุนโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และข้อเสนอ Framework ของประเภทโครงการและกลุ่มผลผลิต เพื่อจัดการแบ่งประเภทของบุคลากรในระบบ อววน.

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุม STO Forum ครั้งที่ 9 ร่วมกับหน่วยงานทั้ง 12 หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อหารือถึงแนวทางการพัฒนาแผนงาน เป้าหมายและงบประมาณในการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของประเทศ โดย สกสว. จะรวบรวมทุกความคิดเห็นนำไปพิจารณาและดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)

“สำหรับการประชุมในครั้งนี้ สกสว. ได้นำเสนอเพื่อรับทราบและรับฟังความเห็น ใน 2 ประเด็นหลัก คือ

ประเด็นที่ 1 ขอบเขตและแนวทางการสนับสนุนโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจากนโยบายของคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เห็นว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาในช่วง พ.ศ. 2563 มีการพิจารณาและจัดสรรงบประมาณที่มุ่งเน้นในส่วนของ “โครงการวิจัยและนวัตกรรม” ไปแล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุม “โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสามารถสนับสนุนแผนงาน โครงการ และกิจกรรมได้ครอบคลุมและบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ สกสว. จึงเปิดรับฟังความเห็นต่อแนวทางการจัดสรรงบประมาณในประเด็นขอบเขตและกิจกรรมของโครงการ แนวทางการดำเนินงาน และหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อเตรียมการสนับสนุนโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนของการดำเนินงานในส่วน “โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ตามนโยบาย กสว.

และประเด็นที่ 2 ข้อเสนอ Framework ของประเภทโครงการและกลุ่มผลผลิต เพื่อการจัดแบ่งประเภทของบุคลากรในระบบ อววน. เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในการจัดประเภทโครงการกลุ่มผลผลิต และบุคลากรในระบบ อววน. ที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบบริหารจัดการของฐานข้อมูลระดับชาติ ทั้ง 3 ฐาน ได้แก่ National Research and Innovation Information System (หรือ NRIIS), National Science and Technology Information System ( NSTIS) และ Higher Education Database System (HiEd DB) ให้มีมาตรฐานของข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผน ติดตามและประเมินผล ต่อไป”

ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ ผู้อำนวยการ กลุ่มภารกิจพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สกสว. กล่าวถึง (ร่าง) ขอบเขตของโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น เป็นการดำเนินการเพื่อเพิ่มความรู้และความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อเป้าหมายสู่ยกระดับความสามารถในการผลิตและการบริการ รวมถึงความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ของสังคม ซึ่งมีการคาดหวังถึงผลผลิตที่จะเกิดขึ้น 3 ด้านหลัก ๆ คือ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Science & Technology Infrastructure: STI) 2) การพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ (National Quality Infrastructure: NQI) และ 3) การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ (Technology Localization) และการพัฒนาขีดความสามารถในการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาประเทศ (Technology Absorptive Capabilities)

โดยมีการเสนอถึงประเภทกิจกรรมของโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ “Platform Technology (PT)” การพัฒนาเทคโนโลยีฐานเพื่อเชื่อมโยงและตอบโจทย์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ “Infrastructure and Facilities (IF)” การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ “Service and Technology Adoption (SA)” การพัฒนาระบบการให้บริการเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย และ “Brain Power (BR)” การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกด้วย

ทั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของกองทุนส่งเสริม ววน. ในการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนานโยบายสาธารณะ และสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญ และโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพสำหรับการวิจัยขั้นแนวหน้า สามารถสนับสนุนการปรับตัวของอุตสาหกรรมปัจจุบันสู่อนาคต รวมทั้งสามารถรองรับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดสู่อนาคต ทัดเทียมประเทศชั้นนำในเอเชีย ตลอดจนเกิดการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ (Technology Localization) และการพัฒนาขีดความสามารถในการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาประเทศ (Technology Absorptive Capabilities) โดยมีกลุ่มเป้าหมายหน่วยงานที่จะขับเคลื่อน คือ หน่วยงานที่มีพันธกิจ หรือมีภารกิจที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมกันนี้จะช่วยให้หน่วยงานมีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น สามารถยกระดับความสามารถในการผลิตและการบริการ ตลอดจนความสามารถในการผลิตและการบริการ ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ และความเป็นอยู่ของสังคมด้วย

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า