วช. เปิดศูนย์วิจัยชุมชน “วิถีผักอินทรีย์ริมโขง อัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่น มรดกวัฒนธรรม อำเภอธาตุพนม”

วช. เปิดศูนย์วิจัยชุมชน “วิถีผักอินทรีย์ริมโขง อัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่น มรดกวัฒนธรรม อำเภอธาตุพนม”

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่จังหวัดนครพนม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดศูนย์วิจัยชุมชน “วิถีผักอินทรีย์ริมโขง อัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่น มรดกวัฒนธรรม อำเภอธาตุพนม” และคุณจุฑามาศ ใจสบาย ผู้อำนวยการวิทยาลัยธาตุพนม ให้การต้อนรับพร้อมทั้งกล่าวรายงาน ณ วิทยาลัยธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ชุมชน โดยการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง และตรงกับความต้องการของชุมชน ไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนาดย่อม พัฒนาทักษะ ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรผู้ใช้เทคโนโลยี รวมทั้งการสร้างบุคลากรในพื้นที่เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยากรและผู้ชำนาญการงานบริการวิชาการแก่ศูนย์วิจัยชุมชน ศูนย์วิจัยชุมชนจะทำงานร่วมกับพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับพื้นที่อย่างแท้จริง

ซึ่งศูนย์วิจัยชุมชนมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ วช. และ 4 เครือข่ายวิจัยภูมิภาค ได้เร่งขับเคลื่อนและขยายผลศูนย์วิจัยชุมชนให้ครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาค โดยปัจจุบันได้มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน ซึ่งแบ่งเป็น (1) ภาคเหนือ : 28 ศูนย์ (2) ภาคกลาง : 9 ศูนย์ (3) ภาคใต้ : 10 ศูนย์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 10 ศูนย์ นับเป็นการเปิดตัวศูนย์วิจัยชุมชนแห่งที่ 11 ซึ่งดำเนินการโดยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ศูนย์วิจัยชุมชน “วิถีผักอินทรีย์ริมโขง อัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่น มรดกวัฒนธรรม อำเภอธาตุพนม” จังหวัดนครพนม เป็นพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งวิถีการใช้ชีวิต อาหารพื้นถิ่น ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านมรดกด้านวัฒนธรรม วิถีผักอินทรีย์ริมโขงที่มีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีต พร้อมทั้งมีอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่นอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยนครพนมเป็นพื้นที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันและนำการวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการสนับสนุนและยกระดับเกษตรกรให้มีความอยู่ดีกินดี ได้แก่ การพัฒนาด้านเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์กบและลูกฮวก การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงสมุนไพร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอ เป็นต้น

การจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนในครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์กับพื้นที่ให้แก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน รวมทั้งการสร้างบุคลากรในพื้นที่เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยากรและผู้ชำนาญการงานบริการวิชาการแก่ศูนย์วิจัยชุมชนควบคู่ไปกับการเรียนรู้ภูมิปัญญา วัฒนธรรม องค์ความรู้ที่จะให้คนทั่วไปได้มาเรียนรู้ในแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่จะพัฒนาและเพิ่มรายได้ให้กับภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า