วช. เปิดตัวระบบ e-service ขอใบอนุญาตใช้-ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

วช. เปิดตัวระบบ e-service ขอใบอนุญาตใช้-ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดตัวระบบ e-service การขอใบอนุญาตใช้-ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ในงาน“วันคล้ายวันสถาปนา วช. ครบรอบ 63 ปี” เพื่อยกระดับขีดความสามารถบริการด้วยระบบดิจิทัลในการออกใบอนุญาตใช้-ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ อำนวยความสะดวกทางด้านดิจิทัลแบบครบวงจร ผ่านระบบการดำเนินการตาม พ.ร.บ. สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (ระบบ ThaiIACUC) ที่ครอบคลุมตลอดทั้งกระบวนงาน โดยสามารถยื่นคำขอแบบออนไลน์ ลงทะเบียนด้วยระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตน และลงนามออกใบอนุญาตโดยใช้ Digital Signature ได้ทันทีหลังจากได้รับการอนุมัติ”

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ คุณสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดกิจกรรมฯ ณ ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2565

คุณสมปรารถนา สุขทวี กล่าวว่า วช. มีหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ “การจัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยของประเทศ” ซึ่งมาตรฐานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินการให้สอดคล้องตาม “พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558” โดยผ่านการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) ภายใต้ วช. เป็นหน่วยงานกำกับ และส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 27 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจะใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ดำเนินการ ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต” โดย วช. ในฐานะผู้อนุญาตจะเป็นผู้ออกใบอนุญาต และ วช. ได้เริ่มพัฒนา “ระบบการดำเนินงานตาม พ.ร.บ. สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ หรือ ระบบ ThaiIACUC” เพื่อรองรับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 ซึ่งเริ่มให้มีการยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้-ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2559

ปัจจุบัน วช. ได้พัฒนาระบบมาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถยกระดับงานบริการเป็นรูปแบบ e-Service โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการออกใบอนุญาตใช้สัตว์-ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้

  1. การนำระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) มาใช้ในการลงทะเบียนใช้งานระบบการพิสูจน์ตัวตน และการยืนยันตัวตนโดยใช้ระดับความน่าเชื่อถือของอัตลักษณ์เป็นเกณฑ์ ซึ่งพิสูจน์ตัวตนระดับ IAL 1.3
  2. นำระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในการออกใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยกระดับการให้บริการในทุกมิติ ลดการใช้เอกสารที่เป็นกระดาษ (Paperless) ลดระยะเวลา ลดต้นทุน และมีความทันสมัยสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0

นอกจากนี้ยังสามารถลงลายเซ็นบนไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถติดตามความคืบหน้าในงานเอกสารได้แบบ Real Time ช่วยยกระดับความรวดเร็วในงานบริการอีกด้วย

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า