วช. ร่วมกับ จ. นครศรีธรรมราช เปิดตัว “กาแฟสิชล” นครศรีธรรมราช สู่ Soft Power ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

วช. ร่วมกับ จ. นครศรีธรรมราช เปิดตัว “กาแฟสิชล” นครศรีธรรมราช สู่ Soft Power ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

คุณสวัสดิ์ สมัครพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา กรรมาธิการ คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช และสำนักงานเกษตรอำเภอสิชล ร่วมกันเปิดตัว “กาแฟสิชล (SICHON)” ภายใต้ “โครงการพัฒนาและยกระดับขบวนการผลิตเมล็ดกาแฟเขาหัวช้าง – สี่ขีดสู่ตลาดกาแฟคุณภาพ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้คุณธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการ กองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม วช. เข้าร่วมในพิธีเปิดตัว และมีประธานและกรรมการกลุ่มวิสาหกิจ “ฅนทำกาแฟสิชล” หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนภาคีภาคประชาสังคมและประชาชนทั่วไป ร่วมเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566

คุณสวัสดิ์ สมัครพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา กรรมาธิการ คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา กล่าวว่า เชื่อมั่นและภูมิใจกับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ วช. ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาและยกระดับกาแฟสิชล สายพันธุ์โรบัสต้า ให้กลับมาเป็นที่รู้จัก จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้ กลุ่มวิสาหกิจ “ฅนทำกาแฟสิชล” ได้นำสัญลักษณ์ของช้าง ที่เป็นตัวแทนของเขาหัวช้าง ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของตำบลสี่ขีดอำเภอสิชล ที่มีอยู่ในแผนที่อำเภอสิชล กับตาไข่ (ไอ้ไข่) มาเป็นโลโก้เพื่อแสดงให้เห็นถึง อัตลักษณ์และสร้างภาพจำ ได้อย่างน่าประทับใจด้วย

คุณธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการ กองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม วช. กล่าวว่า วช. ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตกาแฟ ตั้งแต่ต้นน้ำคือ การปลูกกาแฟ กลางน้ำคือ การยกระดับกระบวนการผลิตกาแฟ ปลายน้ำคือ การสร้างการรับรู้ผ่านช่องทางการจำหน่าย รวมถึงการทำให้เป็นกาแฟที่มีคุณภาพระดับพรีเมียม ที่มีเครื่องหมายรับรองตามมาตรฐานสากล ซึ่งการเลือกพื้นที่ วช. ได้เลือกพื้นที่เขาหัวช้าง – สี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกาแฟพันธุ์ดั้งเดิมที่ปลูกมาไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วอายุคน และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ทั้งนี้ได้มีการขยายผลการปลูกกาแฟไปยังพื้นที่จังหวัดชุมพร และ จังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ตอนบนอีกด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดนัย เครือหลี นักวิจัยจาก มทร.ศรีวิชัย กล่าวว่า อาหารและเครื่องดื่ม ถือเป็นปัจจัยให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยผ่านวัฒนธรรมการกินมาเป็นระยะเวลายาวนาน กาแฟสิชล ได้ผ่านการบรรจงและพิถีพิถันในการผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพ จนทำให้กาแฟสิชล เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในระดับสากล

คุณสุทิน ทองเต็ม กำนันตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า คนสิชล รักถิ่นและมีความภาคภูมิใจในการทำกาแฟมาอย่างช้านานและการที่ วช. มทร.ศรีวิชัย และรัฐบาลให้ความสำคัญกับกาแฟสิชล ถือเป็นเรื่องที่ดี ถือเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้เกษตรกรชาวสวนกาแฟ จนทำให้ชาวสวนกาแฟได้ลืมตาอ้าปากกันอีกครั้งหนึ่ง

คุณกิตติ์ณพงศ์ วงศ์เลี้ยง เกษตรอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความพร้อมที่จะผลักดันกาแฟสิชลให้เป็นที่ยอมรับ ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีความเชื่อมั่นว่า วช. และ มทร.ศรีวิชัย จะทำให้กาแฟสิชลเป็นที่รู้จักแพร่หลาย และที่สำคัญเป็นเกียรติภูมิของอำเภอสิชลตลอดจนจังหวัดนครศรีธรรมราชในระยะต่อไป

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า