มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3/2567

มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3/2567

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมเทาทอง 1 ชั้น 2 ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งในครั้งนี้มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3/2567 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันพิจารณาปัญหาในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตามโครงสร้างของ ทปอ. อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่เป็นสมาชิก ทปอ. ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย/อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดการประชุมฯ และดำเนินการประชุมตามวาระการประชุมฯ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก ผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมประชุมฯ พร้อมทั้งแนะนำคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยบูรพา

โดยภายในงานประชุมฯ ได้มีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพาคือ กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม ผลงานวิจัยของ รองศาสตราจารย์วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และการประดิษฐ์อุปกรณ์กระดกข้อเท้าและยกขาอัตโนมัติ (An automatic ankle pumping and leg lifting device) ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นงนุช ล่วงพ้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์ และ ดร.กุลธิดา กล้ารอด คณะสหเวชศาสตร์

นอกจากนี้ได้มีการนำเสนอผลงานและผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและงานวิจัยสู่ผลงานนวัตกรรมใหม่แห่งภาคตะวันออก อาทิ การออกแบบสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ยางพาราด้วยนวัตกรรม delayed-action gelling agent โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา SUWAN Spray Betapinene คือ สเปรย์ที่ใช้สารสกัดจากมะกรูด ลดปวดอักเสบ เป็นรายแรกของประเทศไทย ที่มีมาตรฐานการผลิต GMP และมีนวัตกรรมอนุสิทธิบัตรผลงานวิจัยรองรับ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันของกองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม หน่วยบ่มเพาะฯ (UBI) และต่อยอดศักยภาพธุรกิจ กับอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา TAMMA สบู่ถ่านไม้ไผ่ประจุลบ ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชาวบ้านเกาะช้างใต้ โดยคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้ลงพื้นที่เพื่อร่วมพัฒนาภายใต้โครงการ U2T อัญมณีประดับเข็มกลัด สัญลักษณ์ของความมีศรัทธา มิตรภาพ ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ และความมั่นคง โดย คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา กำไลหิน Howlite (ฮาวไลต์) Tiger eye (ไทเกอร์อาย) และ Lapis Lazuli (ลาพิซ ลาซูลี) โดย หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา (UBI BUU) ทั้งนี้เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผลงานและผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างอันจะส่งผลดีในระยะยาวจากระดับภาค สู่ระดับประเทศและระดับสากลต่อไป

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า