บ้านห้วยโทน อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ต้นแบบหมู่บ้านแก้ปัญหาความยากจน บนพื้นที่สูงระดับประเทศ

บ้านห้วยโทน อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ต้นแบบหมู่บ้านแก้ปัญหาความยากจน บนพื้นที่สูงระดับประเทศ

บ้านห้วยโทน เป็นหมู่บ้านชนเผ่าลัวะติดชายแดนประเทศลาวที่มีความยากจน เข้าไม่ถึงการพัฒนา ไม่มีอาชีพที่สร้างรายได้ ยังคงวิถีชีวิตดั้งเดิมด้วยการทำไร่ข้าวหมุนเวียน หาของป่าและรับจ้างทั่วไปเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ ด้วยวิถีชีวิตและวิถีเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องเพาะปลูกข้าวให้ได้ปริมาณมากเพียงพอต่อการบริโภคทั้งปี จึงมีการบุกรุกทำลายป่า เกิดปัญหาภูเขาหัวโล้นตามมา จังหวัดน่าน จึงกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกจับตาเรื่องปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมที่ปรากฏชัดผ่านสื่อต่าง ๆ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดำเนินการ จัดการปัญหาอย่างเร่งด่วนที่สุด

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. เป็นหนึ่งหน่วยงานที่ดำเนินงานแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนบนพื้นที่สูงมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ชื่อ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ ที่เข้ามาดำเนินงานในพื้นที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 โดยความร่วมมือร่วมใจของชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยการใช้ความรู้และข้อมูลร่วมกันวางแผนการพัฒนาชุมชน กำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหา โดยจัดทำแผนชุมชน เพื่อใช้เป็นแผนพัฒนาหมู่บ้านที่ตรงปัญหาและความต้องการที่แท้จริง

จากการวิเคราะห์พื้นที่ วางแผนพัฒนา และดำเนินงานพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้บ้านห้วยโทน สามารถแก้ไขปัญหาความยากจน ชุมชนได้รับการส่งเสริมอาชีพทางเลือกใหม่ ด้วยระบบการเกษตรปลอดภัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการนำองค์ความรู้จากแต่ละหน่วยงานมาเพิ่มผลผลิตข้าว และเพิ่มอาชีพทางเลือกใหม่ ทำให้เกษตรกรร้อยละ 76 ของชุมชน มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 100,000-250,000 บาท/ครัวเรือน/ปี จากผลผลิตกาแฟอราบิก้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟบ้านห้วยโทน ซึ่งเป็นพืชหลักจากการส่งเสริม เป็นอาชีพสร้างรายได้ที่ยั่งยืน สอดคล้องกับภูมิสังคมของพี่น้องลัวะบ้านห้วยโทน และที่สำคัญคือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดพื้นที่ไร่หมุนเวียน ลดการเผาซึ่งเป็นสาเหตุของหมอกควันไฟป่า คืนพื้นที่สีเขียวด้วยกาแฟและไม้ท้องถิ่นกว่า 1,350 ไร่ ชุมชนสามารถบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ร่วมกันดูแลป่าต้นน้ำและป้องกันไฟป่าในพื้นที่ของจังหวัดน่าน รวม 10,646 ไร่

จากความร่วมมือของชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ที่ร่วมพัฒนาเมืองน่านสู่เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ การเกษตรมั่งคั่ง ชุมชนเข้มแข็ง ทำให้บ้านห้วยโทนได้รับรางวัลการันตีด้วยรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2565 ประเภทสัมฤทธิ์ผลประชาชนมีส่วนร่วม (Effective Change) ผลงานระดับดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในผลงาน : ร่วมมือสร้างรายได้ ร่วมแรงใจให้ท้องอิ่ม สร้างรอยยิ้มชาวห้วยโทน ติดตามความสำเร็จของบ้านห้วยโทน อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ได้ที่ Link นี้ https://hrdiorth-my.sharepoint.com/…/ESP8u-Bg9z9EkBTkK…

สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. เป็นองค์กรที่มีภารกิจพัฒนาพื้นที่สูง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทำงานตามแนวทางโครงการหลวง มุ่งเน้นการพัฒนาการดำรงชีวิตของคนและชุมชนให้มีความพอเหมาะพอสมกับธรรมชาติบนพื้นที่สูง สามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านต่างๆ ได้ ปรับใช้องค์ความรู้และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ควบคู่กับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมายสูงสุดของ สวพส. คือชุมชนบนพื้นที่สูงมีความอยู่ดีมีสุข ด้วยการวิจัยและพัฒนา สืบสาน รักษา ต่อยอดงานโครงการหลวง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเป้าหมายมีความมั่นคงทางด้านอาหารและมีรายได้ที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิต ตามแนวทางโครงการหลวงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้และสามารถบริหารจัดการได้อย่างยั่งยืน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้จากการสนับสนุนงานโครงการหลวงและพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง และในพื้นที่เป้าหมายลดการบุกรุกพื้นที่ป่า และการฟื้นฟู อนุรักษ์และจัดการอย่างยั่งยืน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วน

Website : www.hrdi.or.th

Website อุทยานหลวงราชพฤกษ์ : http://www.royalparkrajapruek.org/.  

Facebook : สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) – HRDI

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า