บพข. – ม.อ. และ มทร.อีสาน ส่งมอบนวัตกรรมเตียงพลิกตะแคงป้องกันแผลกดทับ สำหรับดูแลผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง พร้อมระบบควบคุมจากระยะไกล คิดค้นโดยคนไทย ใช้จริงแล้วในโรงพยาบาล

บพข. – ม.อ. และ มทร.อีสาน ส่งมอบนวัตกรรมเตียงพลิกตะแคงป้องกันแผลกดทับ สำหรับดูแลผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง พร้อมระบบควบคุมจากระยะไกล คิดค้นโดยคนไทย ใช้จริงแล้วในโรงพยาบาล

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) จัดงานแถลงข่าวส่งมอบผลงานวิจัย “เตียงพลิกตะแคงพร้อมเบาะ Doctor N Medigel และ Software Automate จำนวน 10 เตียง และ Central Control” ให้แก่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี เพื่อแก้ปัญหาการดูแลผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงให้มีสุขภาวะที่ดี พร้อมทั้งป้องกันการเกิดแผลกดทับ นำร่องใช้งานตามแนวระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งเป้าขยายผลการส่งออกผลิตภัณฑ์นวัตกรรมไทย

โดยมี รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการ บพข. เป็นประธานผู้ส่งมอบผลงานวิจัยแก่ นายแพทย์มนต์ชัย วิวัฒนาสิทธิพงศ์ ผู้อำนวยโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และมี ดร.วิไลพร เจตนจันทร์ กรรมการบริหาร บพข. พร้อมด้วย ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ประธานอนุกรรมการแผนงานดิจิทัลแพลตฟอร์ม บพข. ผศ.พญ.นลินี โกวิทวนาวงษ์ หัวหน้าโครงการวิจัย รศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ รองอธิการบดี ม.อ. ผศ.นพ.สิทธิโชค อนันตเสรี รองคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ม.อ. พร้อมทีมวิจัยและภาคเอกชน ร่วมเป็นเกียรติในงาน

ในยุคที่โลกเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จำนวนของผู้ป่วยติดเตียงและผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้มูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ป้องกันการเกิดแผลกดทับมีมูลค่าสูงและเติบโตต่อเนื่องทุกปี จากข้อมูลทางการตลาดในปี 2555 วัสดุรองรับสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับมีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2562 เพิ่มขึ้นสูงถึง 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจากรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดว่าจำนวนผู้ป่วยสูงอายุจะเพิ่มขึ้นถึง 1.5 ล้านคนต่อปี ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นด้วย

ดังนั้นเพียงแค่ 1% ของ market share ก็มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งทีมวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ได้มองเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาระบบการแก้ปัญหาการดูแลผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงให้มีสุขภาวะที่ดี ด้วยนวัตกรรมเตียงพลิกตะแคง และ Doctor N Medigel พร้อม Software Smart Bed เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โดยมุ่งเป้าขยายตลาดออกสู่ตลาดต่างประเทศ และลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยได้ร่วมมือกับ บริษัท เอ็นเอฟ เฮลท์แคร์ จำกัด ในการพัฒนาระบบงาน (Solution) สำหรับดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจร โดยเพิ่ม IoT และระบบกล้องมาเสริมจากระบบเตียงเดิม และได้พัฒนาระบบ Smart Bed Software ให้มีความใหม่และแตกต่างจากระบบอัตโนมัติอื่น ๆ ในท้องตลาด ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยปี 2565 จาก บพข. ในแผนงานกลุ่มดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการดูแลผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงการขยายผลการใช้งานนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์

รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการ บพข. กล่าวว่า “นวัตกรรมนี้เป็นการต่อยอดจากผลงานเดิมที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  กระทรวง อว. ภายใต้ความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมของ ผศ.พญ. นลินี โกวิทวนาวงษ์ จาก ม.อ. และ รศ.ดร. ศักดิ์ระวี ระวีกุล จาก มทร.อีสาน ซึ่งได้มีการนำระบบ Software Smart Bed เพื่อเตียงพลิกตะแคง Doctor N Medigel ไปใช้งานในสถานดูแลผู้สูงอายุและโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะในช่วงที่มีปัญหาการระบาดของโรคอุบัติใหม่โควิด-19 และได้ผลตอบรับที่ดี

ดังนั้น กลุ่มแผนงานดิจิทัลแพลตฟอร์ม บพข. จึงได้มีการสนับสนุนต่อยอด เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของคนไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเพิ่มระบบ IoT และพัฒนาระบบอัตโนมัติในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ ลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และทำให้ราคาสามารถเข้าถึงได้ เป็นทางเลือกให้กับคนไทยและสถานบริการทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพของภาคเอกชน ซึ่งได้แก่ บริษัท เอ็นเอฟ เฮลท์แคร์ จำกัด และบริษัท กรุงเทพครุภัณฑ์เวชภัณฑ์ จำกัด ให้สามารถขยายผลสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ และมีโอกาสในการแข่งขันด้านสุขภาพและการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียนต่อไปในอนาคต”

ดร.วิไลพร เจตนจันทร์ กรรมการบริหาร บพข. กล่าวเสริมว่า “การส่งมอบผลงานวิจัยในวันนี้ บพข. รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่นวัตกรรมที่คิดค้นโดยคนไทย ซึ่งใช้ material base จากผลผลิตทางการเกษตรของไทย ดังนั้นงานวิจัยนี้นอกจากจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มมูลค่ายางพาราไทยด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีมูลค่าสูงได้อีกด้วย ซึ่งต้องขอขอบคุณทีมวิจัย ม.อ. และ มทร.อีสาน รวมทั้งภาคเอกชน ที่ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมนี้จนสามารถผ่านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานสากลและสามารถให้บริการกับประชาชนได้จริง และที่ขาดไม่ได้เลยคือ ต้องขอขอบคุณทางโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของนักวิจัยไทย ด้วยการนำนวัตกรรมมานี้มาใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์นั้นเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจที่มีชาวต่างชาติตามแนวเขตลุ่มแม่น้ำโขงมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจะช่วยสร้างการรับรู้ในการใช้เครื่องมือที่ช่วยดูแลผู้ป่วยในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ และขยายผลให้ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และเป็นที่รู้จักของนักลงทุนหรือตัวแทนจำหน่าย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ”

ผศ.พญ.นลินี โกวิทวนาวงษ์ หัวหน้าโครงการวิจัย ได้กล่าวว่าถึงแนวคิดและเป้าหมายโครงการว่า “นวัตกรรมเตียงพลิกตะแคง และเบาะ Doctor N Medigel นี้ เกิดขึ้นมาจากการพยายามแก้ปัญหาที่เกิดกับผู้ป่วยในเรื่องการเกิดแผลกดทับ เราต้องการเพิ่มมูลค่าให้พืชเศรษฐกิจไทยคือ ยางพารา ให้กลายเป็นเครื่องมือแพทย์ และเราได้มีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้จนสามารถผ่านการทดสอบ และทำมาตรฐานทางการแพทย์ได้ในระดับสากล จากการทดลองวิจัยกับกลุ่มเป้าหมายเราได้รับผลตอบรับที่ดี ทำให้เราเห็นความสามารถในการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ลักษณะคล้ายกับที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ ซึ่งเรามีเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อขยายตลาดออกสู่ตลาดต่างประเทศ

จากข้อมูลที่เราได้ทำการสำรวจ เราพบว่าค่ารักษาแผลกดทับของผู้ป่วย 1 ราย สูงถึง 60,000 ถึง 70,000 บาท เพราะผู้ป่วยต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน และต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ 2-4 คน ในการคอยพลิกผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง ซึ่งตรงนี้เป็นภาระที่หนักมากของบุคลากรทางแพทย์ซึ่งต้องคอยดูแลผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเราจึงพยายามคิดหาวิธีที่จะช่วยเหลือลดภาระดังกล่าว รวมถึงลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยและช่วยให้ญาติที่ดูแลผู้ป่วยสามารถมอนิเตอร์ได้จากระยะไกล ซึ่งเทคโนโลยีที่เราได้พัฒนาเพิ่มเติมด้วยทุนสนับสนุนจาก บพข. คือการจัดทำระบบการดูแลและแก้ปัญหา (Solution) ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดเตียง ด้วยการเพิ่มระบบ Sensor Processing รวมทั้งระบบการตรวจจับด้วยกล้องมาใช้ในการประมวลผล และปรับการดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยข้อมูลจะถูกส่งไปยัง center ที่โรงพยาบาล ทำให้แพทย์สามารถมอนิเตอร์อาการของผู้ป่วยได้จากระยะไกล

นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันไว้บนโทรศัพท์มือถือของญาติผู้ป่วย ทำให้ญาติสามารถควบคุมการพลิกตะแคงผู้ป่วยได้จากที่ทำงานอีกด้วย โดยนวัตกรรมนี้มีหน่วยงานเอกชนที่พร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตและจำหน่าย เข้ามาร่วมในโครงการด้วย ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สำคัญของตลาดในประเทศคือ โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา และทีมนักวิจัยของเราวางแผนในการรุกตลาดต่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่ต่างออกไปจากการทำตลาดในประเทศ โดยในการขยายตลาดสู่ตลาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวระเบียงเศรษฐกิจและมีชายแดนติดกับประเทศในแถบลุ่มน้ำโขงนั้นสามารถส่งออกได้ทั้งทางบกและทางเรือ”

คุณลักษณะเด่นของเตียงที่ทีมวิจัยได้พัฒนาขึ้นคือ เตียงพลิกตะแคงตัวแบบไฟฟ้าพร้อมเบาะดอกเตอร์เอ็น เมดิเจล (Electric Flipping Bed with Doctor N Medigel Mattress) ที่มีโครงสร้างเตียงทำจากท่อเหล็กเหลี่ยม พื้นเตียงแบ่งเป็น 4 ตอน ได้แก่ ช่วงศีรษะ หลัง สะโพก และขา ขนาดรวม 100×220 ซม. ซึ่งเหล็กทุกชิ้นเคลือบอบด้วยระบบสีฝุ่นเพื่อป้องกันสนิม และทีมวิจัยได้ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 4 ตัว สำหรับฟังก์ชันการใช้งานปรับยกด้านหัวเตียง 0-75 องศา ปรับยกงอเข่าได้ 0-45 องศา ปรับระดับสูง-ต่ำของพื้นเตียง 50-75 ซม. และปรับพลิกตัวไปด้านซ้าย-ขวา ได้ประมาณ 30 องศา ตัวเตียงใส่ลูกล้ออย่างดี ขนาด 5 นิ้ว มีเบรกทั้ง 4 ล้อ พนักเตียงทำด้วยพลาสติก ABS ฉีดขึ้นรูป มีราวกั้นเตียงหลายรูปแบบ อาทิ พลาสติก ABS ฉีดขึ้นรูป อะลูมิเนียม สแตนเลส นอกจากนี้ยังสามารถปรับเตียงได้สูงสุด 78 ซม. และต่ำสุด 48 ซม. ไม่รวมความหนาของเบาะ โดยเตียงสามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้สูงสุดถึง 120 กก.

นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันไว้บนโทรศัพท์มือถือของญาติผู้ป่วย ทำให้ญาติสามารถควบคุมการพลิกตะแคงผู้ป่วยได้จากที่ทำงานอีกด้วย โดยนวัตกรรมนี้มีหน่วยงานเอกชนที่พร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตและจำหน่าย เข้ามาร่วมในโครงการด้วย ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สำคัญของตลาดในประเทศคือ โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา และทีมนักวิจัยของเราวางแผนในการรุกตลาดต่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่ต่างออกไปจากการทำตลาดในประเทศ โดยในการขยายตลาดสู่ตลาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวระเบียงเศรษฐกิจและมีชายแดนติดกับประเทศในแถบลุ่มน้ำโขงนั้นสามารถส่งออกได้ทั้งทางบกและทางเรือ”

คุณลักษณะเด่นของเตียงที่ทีมวิจัยได้พัฒนาขึ้นคือ เตียงพลิกตะแคงตัวแบบไฟฟ้าพร้อมเบาะดอกเตอร์เอ็น เมดิเจล (Electric Flipping Bed with Doctor N Medigel Mattress) ที่มีโครงสร้างเตียงทำจากท่อเหล็กเหลี่ยม พื้นเตียงแบ่งเป็น 4 ตอน ได้แก่ ช่วงศีรษะ หลัง สะโพก และขา ขนาดรวม 100×220 ซม. ซึ่งเหล็กทุกชิ้นเคลือบอบด้วยระบบสีฝุ่นเพื่อป้องกันสนิม และทีมวิจัยได้ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 4 ตัว สำหรับฟังก์ชันการใช้งานปรับยกด้านหัวเตียง 0-75 องศา ปรับยกงอเข่าได้ 0-45 องศา ปรับระดับสูง-ต่ำของพื้นเตียง 50-75 ซม. และปรับพลิกตัวไปด้านซ้าย-ขวา ได้ประมาณ 30 องศา ตัวเตียงใส่ลูกล้ออย่างดี ขนาด 5 นิ้ว มีเบรกทั้ง 4 ล้อ พนักเตียงทำด้วยพลาสติก ABS ฉีดขึ้นรูป มีราวกั้นเตียงหลายรูปแบบ อาทิ พลาสติก ABS ฉีดขึ้นรูป อะลูมิเนียม สแตนเลส นอกจากนี้ยังสามารถปรับเตียงได้สูงสุด 78 ซม. และต่ำสุด 48 ซม. ไม่รวมความหนาของเบาะ โดยเตียงสามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้สูงสุดถึง 120 กก.

ในส่วนของ Doctor N Medigel เจลยางพาราป้องกันการเกิดแผลกดทับซึ่งถือเป็นเครื่องมือแพทย์ Class I ทางบริษัทผู้ผลิตได้จดทะเบียนสถานประกอบการผลิต และจัดเก็บเครื่องมือแพทย์กับทางคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังมีผลทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ Irritation Test และ Allergy Test จากห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานสากลเป็นที่เรียบร้อย รวมทั้งได้รับการรับรองระบบการบริหารงานคุณภาพสำหรับเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 ซึ่งเป็นการยืนยันความปลอดภัยในการใช้งานกับผู้ป่วย และในส่วนของซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมเตียงพร้อมคอนโทรลเลอร์นั้น ได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัย IEC 62304 Medical Device Software, Software Life-cycle Processes และ IEC 60601-1 Medical Electrical Equipment Part 1: General Requirements for Basic Safety and Essential Performance จาก NECTEC สวทช. เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน นอกจากนี้ผลงานของทีมวิจัยยังได้รับสิทธิบัตรเรื่องวัสดุรองรับแรงกดทับอวัยวะผู้ป่วยขณะผ่าตัด ที่ผลิตจากพอลิเมอร์หุ้มยางพาราและกระบวนการผลิตวัสดุรองรับ และอนุสิทธิบัตรเรื่องเตียงป้องกันการเกิดแผลกดทับด้วย

คุณมาริต้า รุกขพันธ์เมธี กรรมการบริหาร บริษัท กรุงเทพครุภัณฑ์เวชภัณฑ์ จำกัด เผยถึงแผนการต่อยอดนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ของบริษัทว่า “เดิมทีทางบริษัททําธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตเตียงคนไข้อยู่แล้ว แต่เป็นเตียงคนไข้แบบปกติไม่มีฟังก์ชันพลิกตะแคงสําหรับแผลกดทับ เรามองว่าต่อไปนี้สังคมผู้สูงอายุจะเข้ามา ถ้าเราสามารถแก้ pain point ตรงนี้ได้สินค้าเราก็จะได้ขยายตลาด การมาร่วมทุนในครั้งนี้ช่วยให้เราสามารถเพิ่มเทคโนโลยีในการผลิต และพนักงานของเราได้เรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ผู้ประกอบการระดับ SME แบบเราสามารถผลิตและส่งออกนวัตกรรมเตียงคนไข้ที่มีมาตรฐานสากลไปต่างประเทศได้

ซึ่งตอนนี้เราเปิดตลาดไปในกลุ่ม Home use และ Nursing home ซึ่งตลาดกลุ่มนี้จะแตกต่างจากโรงพยาบาลตรงที่ หากเป็นโรงพยาบาลจะไม่ค่อยแคร์เรื่องหน้าตาของสินค้า ขอให้แข็งแรงและฟังก์ชันโอเค แต่เมื่อเป็นกลุ่มของ Home use เราต้องมีการจ้างงานดีไซน์เนอร์เข้ามาช่วยออกแบบทําให้คนที่นอนไม่รู้สึกว่าอยู่โรงพยาบาล เราได้เริ่มจำหน่ายสินค้าตัวนี้ในตลาดแล้ว และกําลังจะทำโมเดลธุรกิจเป็นการขายแพ็กเกจแบบไลฟ์เซอร์วิสด้วยคือ ถ้าสินค้าหมดอายุแล้วหรือเสื่อมสภาพ หากต้องการขายคืน เราจะมีการรับซื้อและปรับเปลี่ยนให้ โดยเตียงของเรามีราคาประมาณ 1 แสนบาท ซึ่งจะถูกกว่าเตียงที่นำเข้าจากยุโรปซึ่งมีราคาประมาณเตียงละ 3-4 แสนบาท โดยเราถือเป็นเจ้าแรก ๆ ในเอเชีย ที่สามารถผลิตเตียงที่มีฟังก์ชันพลิกตะแคงสำหรับดูแลผู้ป่วยแผลกดทับที่ได้มาตรฐานสากล”

นายแพทย์มนต์ชัย วิวัฒนาสิทธิพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในหนึ่งวันโรงพยาบาลมีคนไข้ที่เข้ามารับการรักษาจำนวนกว่า 3,000 ถึง 4,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วย ICU อีกประมาณ 30 – 40 คน ซึ่งการดูแลผู้ป่วยติดเตียง 1 คนต้องใช้บุคลากรประมาณ 3-4 คน ในการช่วยพลิกตัวผู้ป่วย และต้องทำทุก ๆ 2 ชม. ซึ่งเป็นภาระที่หนักมากของบุคลากรในโรงพยาบาลรวมถึงผู้ดูแลผู้ป่วย ดังนั้นในสภาพความเป็นจริงเราจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อลดแรงกดทับ ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นแผลกดทับตามมา รวมถึงลดขั้นตอนการทำงาน และแบ่งเบาภาระของบุคลากรโรงพยาบาลที่ต้องแลผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก และสิ่งที่ทีมนักวิจัยได้พัฒนานั้น ได้ผ่านการดําเนินการที่เป็นขั้นเป็นตอนจนกระทั่งได้ต้นแบบที่เหมาะสมที่สุด ที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี”

ความสำเร็จของการพัฒนาระบบและผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงของนักวิจัยไทยครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ของไทยให้มีมาตรฐานระดับสากล สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมทางการแพทย์ของไทยได้อย่างยั่งยืนตามเป้าหมายของ บพข.

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า