ซินโครตรอนร่วมกับ Wazzadu.com เปิดตัว “กราฟีนจากขยะ” และ “แก้วเพื่อกักเก็บพลังงาน”

ซินโครตรอนร่วมกับ Wazzadu.com เปิดตัว “กราฟีนจากขยะ” และ “แก้วเพื่อกักเก็บพลังงาน”

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ Wazzadu.com เปิดตัว 2 ผลงานพัฒนาวัสดุเพื่ออนาคต “กราฟีนจากขยะ” หมุนเวียนและเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งเป็นวัสดุที่มีมูลค่าเพิ่ม 1,000 เท่า และ “แก้วเพื่อกักเก็บพลังงาน” สำหรับพัฒนาขั้วแบตเตอรี่เพื่อการกักเก็บพลังงานที่ยาวนานขึ้น ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เปิดตัว 2 ผลงานวิจัยด้านวัสดุเพื่ออนาคต ร่วมกับ คุณจุลเกียรติ สินชัยชูเกียรติ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ‘Wazzadu.com’ ภายในงานแถลงข่าวจัดงาน “การประชุมเมืองแห่งอนาคต 2565” (Future City Forum 2022) ได้แก่ “ระบบสังเคราะห์กราฟีนด้วยการให้ความร้อนฉับพลัน” สำหรับผลิตกราฟีนจากขยะ และ “แก้วเพื่อกักเก็บพลังงาน” สำหรับผลิตเป็นขั้วแบตเตอรี่เพื่อการกักเก็บพลังงาน โดยได้แถลงแนะนำผลงานดังกล่าว เมื่อวันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ณ อาคารที-วัน สุขุมวิท 40

สำหรับระบบสังเคราะห์กราฟีนด้วยการให้ความร้อนฉับพลัน เป็นผลงานต้นแบบที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน พัฒนาขึ้นเพื่อผลิตกราฟีนจากขยะ โดยนำขยะที่ผ่านการเผาแล้วมาเข้าระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าปริมาณสูงเวลาสั้น ๆ ไม่ถึงวินาที จนเกิดความร้อนสูงถึง 3,000 องศาเซลเซียส ทำให้เหลือเพียงคาร์บอนอะตอมที่จัดเรียงตัวใหม่กลายเป็นกราฟีน โดยกระบวนการผลิตนี้ใช้ได้กับขยะเกือบทุกชนิด เช่น ยางล้อรถยนต์ ขยะพลาสติกทุกประเภท ของเหลือทิ้งจากการเกษตร ชีวมวล เช่น กากกาแฟและกาบมะพร้าว และได้กราฟีนที่เพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งได้ 1,000 เท่า โดยได้กราฟีนที่มีราคากิโลกรัมละ 7,000 บาท

ส่วนอีกผลงานคือ แก้วเพื่อกักเก็บพลังงานสำหรับพัฒนาเป็นขั้วแบตเตอรี่ ทดแทนขั้วแบตเตอรี่รูปแบบเดิมที่เสื่อมสภาพได้ง่าย เพื่อให้ได้แบตเตอรี่ที่กักเก็บพลังงานได้ยาวนานขึ้น ใช้งานได้ปลอดภัยเพราะไม่มีของเหลวที่ติดไฟง่ายและไม่มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดการระเบิด อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะนำกลับไปรีไซเคิลได้ นอกจากนี้วัสดุแก้วยังสามารถผลิตได้ง่ายและขึ้นรูปแบตเตอรี่ได้ตามความต้องการ มีศักยภาพในการกักเก็บพลังงานสะอาดเพื่อยานยนต์ไฟฟ้า (EV) สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

ทั้ง 2 ผลงานวิจัยด้านวัสดุโดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนจะจัดแสดงภายในการประชุมเมืองแห่งอนาคต 2565 ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดภายใต้งาน “อัศจรรย์เมืองน่าอยู่” (Wonder of Well-Being City 2022) หรือ WOW2022 ระหว่างวันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2565 ณ สวนเบญจกิติ กรุงเทพฯ

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า