“จันทรุปราคาเงามัว” 6 พฤษภาคม 2566

“จันทรุปราคาเงามัว” 6 พฤษภาคม 2566

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยภาพจันทรุปราคาเงามัว บันทึกเมื่อเวลา 00:23 น. วันที่ 6 พฤษภาคม 2566 ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ขณะเกิดปรากฏการณ์ความสว่างของดวงจันทร์ลดลงเล็กน้อย สังเกตด้วยตาเปล่าได้ไม่ชัดเจนนัก

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวในครั้งนี้ เกิดในคืนวันที่ 5 พฤษภาคม ถึงเช้ามืด 6 พฤษภาคม 2566 ช่วงเวลาประมาณ 22:14 – 02:31 น. ตรงกับคืนดวงจันทร์เต็มดวง ดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวมากที่สุดเวลาประมาณ 00:22 น. ของวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 จากนั้นจะค่อย ๆ เคลื่อนออกจากเงามัว จนสิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลาประมาณ 02:31 น. สังเกตความเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างยาก มองด้วยตาเปล่าไม่ชัดเจน แต่หากเปรียบเทียบความสว่างของดวงจันทร์ในช่วงเต็มดวง กับช่วงเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว จะพอสังเกตเห็นความแตกต่างได้ เนื่องจากดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงามัวของโลกบางส่วน และไม่ได้ผ่านเข้าไปในบริเวณเงามืด ดวงจันทร์จึงไม่ปรากฏเว้าแหว่ง จะยังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงแต่มีความสว่างในส่วนที่อยู่ในเงามัวลดลงเท่านั้น

สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาในประเทศไทยครั้งต่อไป จะเกิดอีกครั้งปลายปีนี้เป็น “จันทรุปราคาบางส่วน” ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม 2566

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า