คุณศุภมาส เดินหน้ากระชับความสัมพันธ์ไทย – จีน ขยายความร่วมมืองานวิจัยสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ พร้อมเปิดศูนย์วิจัยจีน (CASS – NRCT CCS)

คุณศุภมาส เดินหน้ากระชับความสัมพันธ์ไทย – จีน ขยายความร่วมมืองานวิจัยสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ พร้อมเปิดศูนย์วิจัยจีน (CASS – NRCT CCS)

คุณศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดศูนย์วิจัยจีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สถาบันสังคมศาสตร์จีน (CASS – NRCT CCS) พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “50 ปี มิตรภาพแบบครอบครัวเดียวกันสู่ความร่วมมืออย่างยั่งยืนระหว่างไทย-จีน” โดยมีคุณเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวแสดงความยินดี Professor WANG Changlin Vice President of Chinese Academy of Social Sciences (CASS) และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ Mr. WU Zhiwu อัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำราชอาณาจักรไทย รายงานความร่วมมือและกล่าวเปิดศูนย์วิจัยจีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และสถาบันสังคมศาสตร์จีน (CASS – NRCT CCS) ณ อาคาร วช. 8 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567

คุณศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า เนื่องในโอกาสที่ปีหน้า จะครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับจีน ที่มีความสัมพันธ์ไทย-จีน ยาวนานกว่า 2 พันปี ภายใต้คำขวัญ “ไทย-จีนพี่น้องกัน” บนพื้นฐานของความไว้วางใจและความร่วมมือซึ่งกันและกัน ปัจจุบันความสัมพันธ์ไทย-จีนได้พัฒนาสู่ระดับหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน โดยผ่านกลไกสำคัญคือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (One Belt One Road) มุ่งเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เส้นทางคมนาคม และเชื่อมต่อภูมิภาค ไทยมีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางการเชื่อมต่อในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความร่วมมือทางวิชาการเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ ซึ่งสถาบันสังคมศาสตร์จีน (CASS) และ วช. ร่วมส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่จะมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนนักวิจัย ร่วมวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรม ซึ่งล้วนส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตประชาชนทั้งสองประเทศ

Mr.WU Zhiwu อัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำราชอาณาจักรไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีนมาอย่างยาวนาน รวมถึงความร่วมมือระหว่าง วช. กับ CASS บันทึกข้อตกลงเพื่อความร่วมมือทางวิชาการ โดยคาดหวัง 3 ประการว่า

  1. จะร่วมกันพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่เกี่ยวกับประเด็นไทย – จีน
  2. ศูนย์วิจัยจีน (CASS – NRCT CCS) จะกลายเป็นเวทีที่เชื่อถือได้สำหรับการวิจัยด้านชุมชนจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกัน
  3. ศูนย์แห่งนี้จะเป็นหน้าต่างให้ผู้คนจากทุกสาขาอาชีพในประเทศไทย ได้เข้าใจถึงประเทศจีนที่แท้จริง เชื่อว่าศูนย์แห่งนี้จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ โดยทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะผลักดันความร่วมมือด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผ่านการเรียนรู้ความสำเร็จจากจีน การขับเคลื่อนโครงการสำคัญโดยเฉพาะการจัดการความยากจน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG ของไทย รวมถึงการจัดตั้งศูนย์วิจัยจีนในประเทศไทยอีกด้วย

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนและสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์โลก ซึ่งการจะพัฒนาประเทศตามแนวคิด กระบวนการ รวมถึงวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกับสถาบันสังคมศาสตร์จีน เพื่อร่วมกันส่งเสริม เชื่อมโยง และผลักดันให้เกิดผลงานวิจัย นวัตกรรมทางสังคมที่นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้

จึงมุ่งหวังว่า ศูนย์วิจัยจีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สถาบันสังคมศาสตร์จีนแห่งนี้ จะได้มีส่วนสำคัญในการเป็นศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยและวิชาการด้านจีนศึกษา ในประเด็นที่มีความสนใจและห่วงใยร่วมกัน ท่ามกลางสถานการณ์ระหว่างประเทศและภูมิภาคที่มีความซับซ้อนและผันผวน เพื่อร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของไทยและจีน ส่งเสริมความร่วมมือไทย – จีน ในด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการศึกษาวิจัย และบรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีนและไทย ซึ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศจะนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า