กองทุน ววน. โดย สกสว. บพข. จับมือ มรภ.ลำปาง และภาคีเครือข่าย 23 หน่วยงาน ลงนาม MOU ยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการท่องเที่ยวไทยบนเส้นทางรถไฟ

กองทุน ววน. โดย สกสว. บพข. จับมือ มรภ.ลำปาง และภาคีเครือข่าย 23 หน่วยงาน ลงนาม MOU ยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการท่องเที่ยวไทยบนเส้นทางรถไฟ

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านวิชาการและการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และภาคีเครือข่ายรวม 23 หน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคตโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แผนงานวิจัย “การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนเส้นทางรถไฟสายเหนือส่วนขยาย (เชียงใหม่ – ลำปางไปยังพิษณุโลก)” ที่สนับสนุนทุนวิจัยโดย กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ผ่านช่องทางระบบออนไลน์ร่วมกันกับเครือข่ายทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566

ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. ในฐานะผู้แทนผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สกสว. เป็นหน่วยงานที่มีระบบการบริหารจัดการแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศครอบคลุมด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาการ วิจัยและพัฒนา ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ทำหน้าที่บริหารจัดการแผนงานวิจัยการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 และสนับสนุนให้เกิดการนำผลงานวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยเส้นทางรถไฟไปใช้ประโยชน์ นับว่าเป็นผลงานที่มีศักยภาพสอดคล้องกับนโยบายการท่องเที่ยวมูลค่าสูงของประเทศเป็นอย่างมาก

ขณะที่ ในปี 2567 สกสว. และ บพข. มีแผนการส่งเสริม สนับสนุนการท่องเที่ยวทางรถไฟเชิงสร้างสรรค์ทั่วประเทศ ผ่านมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 4 แห่งร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยครอบคลุมภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้

1) ภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และสุโขทัย) แผนงานวิจัย “การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ผ่านการท่องเที่ยวโดยรถไฟสายเหนือ ส่วนขยาย (เชียงใหม่ – ลำปาง ไปยัง สวรรคโลก)” โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

2) ภาคใต้ (สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช) แผนงานวิจัย “การเชื่อมโยง การท่องเทียวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟในเส้นทางศักยภาพของภาคใต้บนฐานอัตลักษณ์เพื่อการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (หาดใหญ่ – สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราชและตรัง)” โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

3) ภาคอีสานตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานีและหนองคาย) แผนงานวิจัย “การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟเพื่อสร้างมูลค่าด้วยฐานทุนวัฒนธรรม และความเชื่อมโยงในเส้นทางอีสานตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย)” โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

4) ภาคอีสานตอนล่าง (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี) แผนงานวิจัย “การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟเพื่อสร้าง มูลค่าด้วยฐานทุนวัฒนธรรมและความเชื่อในเส้นทางอีสานตอนล่าง (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี)” โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

“สกสว. และ บพข. เป็นหน่วยงานสำคัญของรัฐในการจัดทำแผนพัฒนาการวิจัย บริหารจัดสรรงบประมาณการวิจัย รวมทั้ง มีระบบติดตามการใช้ประโยชน์จากการวิจัยของประเทศ จึงได้จัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 สนับสนุนให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์/เชิงสาธารณประโยชน์ หรือ Research Utilization : RU เพื่อเปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยรถไฟของประเทศไทย จำนวน 25 ล้านบาท ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวร่วมเดินทางแสวงหาประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยรถไฟ ราว 5,000 คน ใน 19 จังหวัด เป้าหมายทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสานตอนบนและตอนล่าง มีมูลการขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ราว 475 ล้าน ภายในปี 2570 หรือเฉลี่ยจังหวัดละ 25 ล้านบาท”

การผนึกกําลังกับการรถไฟแห่งประเทศไทย กรมการท่องเที่ยว 6 จังหวัดภาคเหนือ กองบัญชาการตํารวจภูธรภาค 5 และภาค 6 รวมทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ที่ร่วม MOU ในวันนี้ สามารถบูรณาการความร่วมมือเพื่อมุ่งยกระดับประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยรถไฟและบนเส้นทางรถไฟ ผสมผสานองค์ประกอบทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ อาหารท้องถิ่น สุนทรียทางดนตรี การออกแบบ/ดีไชน์เครื่องแต่งกาย สินค้าและผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกที่เข้ากับการเดินทาง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งมรดกทางธรรมชาติของประเทศไทยอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งยังได้ร่วมกันขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟเชิงสร้างสรรค์ กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่น สร้างโอกาสในการทำงานและสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นตามเส้นทางรถไฟดังกล่าว

โดยมี 23 หน่วยงานร่วมลงนาม MOU ดังนี้ 1. การรถไฟแห่งประเทศไทย 2. จังหวัดลำปาง 3.จั งหวัดลำพูน 4. จังหวัดเชียงใหม่ 5.จั งหวัดแพร่ 6. จังหวัดอุตรดิตถ์ 7. จังหวัดพิษณุโลก 8. กรมการท่องเที่ยว 9. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำปาง 10. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน 11. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ 12. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแพร่ 13. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ 14.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด พิษณุโลก 15. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลำปาง 16. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ 17. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแพร่ 18. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก 19. ตำรวจภูธรภาค 5 20. ตำรวจภูธรภาค 6 21. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) 22. สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ 23. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า