กระทรวงวัฒนธรรม หนุนกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย บูรณาการความร่วมมือเชิงรุก จัดพิธีลงนาม MOU 3 เครือข่ายภาครัฐและเอกชน

กระทรวงวัฒนธรรม หนุนกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย บูรณาการความร่วมมือเชิงรุก จัดพิธีลงนาม MOU 3 เครือข่ายภาครัฐและเอกชน

คุณเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนางานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ประจำปี 2567 ระหว่างกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม กับธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และกลุ่ม Chat Lab โดยมีคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย คุณประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย คุณวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail and Brand ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) คุณสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และคุณณัฏฐาปกรณ์ คะปูคำ สถาปนิกผู้แทนกลุ่ม Chat Lab ร่วมลงนามความร่วมมือ โดยมีคุณพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม คุณลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม คุณสุภัทร กิจเวช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม คุณเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ศิลปิน และผู้แทนหน่วยงานเครือข่าย ที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ศิลปิน แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566

คุณเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับองค์กรเครือข่ายและศิลปินทุกท่าน ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตลอดจนความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นจากพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในวันนี้ ระหว่าง กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายทั้ง 3 หน่วยงานได้แก่ 1. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด 3. กลุ่ม Chat Lab และการจัดนิทรรศการแสดงผลงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนในปี 2566 จะทำให้การขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล โดยการนำศิลปะร่วมสมัยมาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และส่งเสริมพลังความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้พัฒนาไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ บนพื้นฐานของทุนทางสังคมและวัฒนธรรม อันเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันและเสริมสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยให้แพร่หลายในประชาคมโลกและยังเป็นก้าวสำคัญในการบูรณาการความร่วมมือเชิงรุก ที่สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งทุนที่ให้การส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยแก่ศิลปินและเครือข่ายฯ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาตั้งแต่ พ.ศ. 2561- 2566 โดยได้ให้การสนับสนุนโครงการต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 162 โครงการ เป็นงบประมาณรวมกว่า 43 ล้านบาท และใน พ.ศ. 2567 มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย จำนวนทั้งสิ้น 27 โครงการ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,950,000 บาท ครอบคลุม 4 แนวทางหลัก ได้แก่ แนวทางที่ 1 วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และ/หรือนำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม แนวทางที่ 2 ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่า มูลค่าทางเศรษฐกิจ แนวทางที่ 3 สร้างความร่วมมือเครือข่ายเพื่อยกระดับคุณค่าที่หลากหลายทางสังคมและชุมชน แนวทางที่ 4 ส่งเสริมการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทยผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

โครงการที่ได้รับการส่งเสริม ล้วนมีแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการให้เกิดการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายในระดับชุมชน ระดับชาติ และระดับนานาชาติ และต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งก่อให้เกิดการบูรณาการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยเชิงรุกผ่านระบบนิเวศศิลปะ ช่วยยกระดับคุณค่าทางสังคมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ นิทรรศการโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เปิดให้เข้าชมผลงานโดยไม่เสียค่าเข้าชม ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2566 จนถึงวันที่ 5 มกราคม 2567 ณ ห้องปฏิบัติการ 1 และ 2 บริเวณชั้น 2 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพฯ

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า